สวนบ้านสมดุล
Commercial: Honor Award
“Although this project has not represented an eye-catching design, it is still interesting. Contexts and conditions of the site were respected. The local essence was expressed through the landscape planning and design. This work is expected to inspire the wider public to recognize the fascination of localness.”
2021 AWARDS JURY
Project Summary:
“Grow what you eat” “Eat what you grow”
When natural resources are part of our lives We will understand and cherish it more. This is the main goal of this landscape architectural design project. Make it Somdul (balance) .
Somdul Agroforestry Home, Samut Songkhram Province, is a café and agroforestry learning center with 15 Rai (24,000 sq.m.) area.
Design Concept “Turn on river - forest - locality - people”
It was originally a garden house which was not in use. The project owner has an idea to develop this area to be a coffee shop project and agricultural learning base on an existing in this site. This house aims to live a healthy and balanced. City life and nature in the middle through organic farming “agroforestry” “Grow what you eat” “Eat what you grow” are conveyed in terms of services, food, beverages, bakery, processed products in the cafe zone. Learning through practical education in various workshop activities and convey the way of life, the body of knowledge of agroforestry to see the results we call "Sustainable happiness". There are also makes the way of life along the Mae Klong River of Thai people in the past come back again. Until there is an area where everyone can come out and use it happily.
Design approach:
1.Turn concrete road to the " floating wood terrace " the main feature is a that provides an ecosystem below.
It was inspired by a Thai wood terrace used as a gathering space in a Thai house.
2.Turn on view of the Mekong River for people to see and appreciate. Design to allow people to be closer to the water. By realizing that the water source used to be in front of people's houses by designing the user experience of the waterfront area in each area to be different.
3.Turn on the abandoned tree area for people to be able to use.
Increase the potential of the area by extending the existing things to be a learning area that is different in each point. According to the context suitable for the area, including the learning area of teak forest (from the original teak trees within the project). Within the coffee shop and surrounding area, an agricultural learning area and numerous workshop activities were designed. The floating wood terrace provided as a linkage between all of this.4.Transforming our vision of turning plants for commercial projects into plants that produce food, herbs, animal habitats and beautify them at the same time. The concept of Farm to Table focuses on growing local produce for eating, including trees, shrubs, and creepers, resulting in sustainability within the project.
Design Strategies
maximum potential of the area and its context, namely the power of the river. The power of the big trees and the locality sense. Balancing people and context
Coexist with nature . Balancing people with nature
Bring people to the various of experience . Balancing people with activities.
Productive plants, productive project. Balancing people with clean organic food
ชื่อโครงการ : สวนบ้านสมดุล
สถานที่ตั้ง : ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อผู้ส่งประกวด/บริษัท: : บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด
หัวหน้าโครงการ : ชัชนิล ซัง
ภูมิสถาปนิกโครงการ : แลนด์สเคปสตูดิโอ อาศรมศิลป์
ผู้ว่าจ้าง / เจ้าของโครงการ : อติคุณ ทองแตง
ผู้ก่อสร้างงานภูมิทัศน์ : บจก. พิคทอเรียล
วันที่เริ่มเปิดใช้งาน : เดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2561
ลักษณะโครงการ:
ร้านกาแฟและศูนย์การเรียนรู้วนเกษตร
แนวคิดหลักของโครงการ:
ปรับเปลี่ยนพื้นที่บ้านสวนเดิมที่ไม่ได้มีการใช้งาน ซึ่งถูกทิ้งร้างเป็นโรงเลื่อยไม้ ให้กลายเป็นพื้นที่แห่งชีวิต เชื่อมโยงน้ำ-ป่า-คนอีกครั้ง เป็นเสมือนลานบ้าน ให้คนได้ออกมามีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังส่งต่อแนวความคิดการทำเกษตรกรรมและความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตริมแม่น้ำแม่กลองของคนไทยในอดีต พัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับร้านกาแฟภายในสวนวนเกษตร ซึ่งในโครงการประกอบไปด้วย พื้นที่การทำกิจกรรมปฏิบัติการ(workshop)จากผลิตภัณฑ์ทางเกษตรอินทรีย์ พื้นที่พักผ่อน ห้องเรียนทางธรรมชาติให้ความรู้เรื่องวนเกษตรร่องสวนของไทย โดยไม่ใช้สารเคมี จนทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่สำหรับทุกคนได้ในที่สุด โดยมีสามหัวใจสำคัญ คือเรื่องสุขภาพ ธรรมชาติ และการพึ่งพาตนเอง
รายละเอียดโครงการ:
“จากบ้านสวนหลังเก่าของครอบครัวที่ไม่ได้มีการใช้งานสู่พื้นที่แห่งชีวิต ด้วยแนวความคิดเกษตรยั่งยืน”
โครงการสวนบ้านสมดุล เป็นโครงการขนาดพื้นที่ 15 ไร่ ริมแม่น้ำแม่กลอง ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เดิมเป็นบ้านสวนของเจ้าของโครงการที่ไม่ได้มีการใช้งาน ซึ่งทางเจ้าของโครงการได้มีแนวความคิดที่จะพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่ต่อยอดเป็นโครงการร้านกาแฟและพื้นที่เกษตรกรรม ที่สามารถพึ่งพาสิ่งที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ได้ “สมุทรสงคราม” เคยเป็นจังหวัดที่ผู้คนใช้ชีวิตเชื่อมโยงกับแหล่งน้ำ ด้วยความที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน น้ำจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนในจังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยังมากด้วยผลผลิตจากธรรมชาติ และพื้นที่ทางเกษตรกรรมยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มาก แต่ปัจจุบัน การใช้ชีวิตของผู้คนในสมุทรสงครามได้เปลี่ยนไป อันเกิดจากการขยายตัวของเมืองและการสร้างถนน น้ำจากเดิมที่เคยเป็นหน้าบ้าน ได้ถูกลดความสำคัญลง ผู้คนต่างพากันหันหลังให้แหล่งน้ำ จากความสำคัญของบริบทวิถีชีวิตใกล้แหล่งน้ำในอดีตดังกล่าว จึงมีแนวความคิดที่จะเชื่อมโยงผู้คนให้ใกล้กับแหล่งน้ำมากขึ้น โดยผ่านการออกแบบให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ดังนี้
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการเปลี่ยนถนนคอนกรีตในพื้นลานบ้าน เป็นพื้นที่สำหรับน้ำซึมผ่านได้ ยกชานที่นั่ง ลอยขึ้นให้เป็นพื้นที่พักผ่อนที่น้ำซึมผ่านได้ ซึ่งไม่ว่าคนจะใช้สอยพื้นที่นี้มากมายเพียงใด ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ชาน พื้นที่ตรงนี้จึงเป็นมิตรทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งแวดล้อม
2. แนวคิดเรื่อง Farm to table เน้นการปลูกพืชผลผลิตพื้นบ้านเพื่อรับประทาน ทั้งไม้ต้น ไม้พุ่ม และไม้เลื้อย ทำให้เกิดความยั่งยืนภายในโครงการ รวมทั้งพืชที่ปลูกนั้น ยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีความสวยงาม
3. เพิ่มศักยภาพของพื้นที่โดยการต่อยอดสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละจุด ตามบริบทที่เหมาะสมกับพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เรียนรู้สวนป่าสัก (จากต้นสักเดิมที่มีอยู่ภายในโครงการ) พื้นที่เรียนรู้เกษตรร่องสวน และพื้นที่ทำกิจกรรม workshop ต่าง ๆ ภายในพื้นที่ของร้านกาแฟและบริเวณโดยรอบ และเชื่อมต่อพื้นที่ทั้งหมดด้วยทางเดินไม้ยกระดับ
4. ออกแบบให้ผู้คนสามารถใกล้ชิดกับน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยตระหนักถึงเมื่อครั้งที่แหล่งน้ำเคยเป็นหน้าบ้านของผู้คนด้วยการออกแบบประสบการณ์การใช้งานของพื้นที่ริมน้ำในแต่ละบริเวณให้มีความแตกต่างกันออกไป
การสร้างพื้นที่ที่สมดุลระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ สมดุลระหว่างวิถีชาวบ้านและคนเมือง สมดุลระหว่างธรรมชาติกับเมือง และเป็นพื้นที่ให้คนเข้ามาเรียนรู้วิถีของการทำเกษตรอย่างยั่งยืน ได้เข้ามาสัมผัสกับการอยู่การกินด้วยตัวเองผ่านคาเฟ่ เพื่อให้ความหมายของคำว่า ‘วนเกษตร’ หรือ ‘Agroforestry’ นั้นเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยส่วนประกอบภายในโครงการมีดังนี้
1.พื้นที่เรือนต้อนรับ ร้านกาแฟ และ co-working space ซึ่งเป็นพื้นที่หลักของโครงการ เป็นส่วนที่นำเอาพืชผลผลิตทางการเกษตรภายในโครงการมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
2.พื้นที่ Coffee terrace โดยเป็นการออกแบบให้ผู้คนที่เข้ามายังโครงการได้มีความเชื่อมโยงกับน้ำและใกล้ชิดกับน้ำมากขึ้น
3.พื้นที่เกษตรร่องสวน เป็นการนำแนวคิดภูมิปัญญาไทยเข้ามาใช้กับพื้นที่โครงการ
4.พื้นที่เรียนรู้สวนป่าสัก เนื่องจากเดิมมีสวนป่าสักเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่โครงการ
5.พื้นที่สำหรับการพัฒนาต่อในอนาคต
แนวความคิดในการออกแบบพืชพรรณ
เพราะการเรียนรู้อย่างเข้าใจด้วยการได้รับประโยชน์ร่วมกัน เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและธรรมชาติที่ยั่งยืนที่สุด การออกแบบ พืชพรรณจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะมุ่งเน้นการมี การใช้ และการอยู่ร่วมกับทรัพยากรณ์อย่างยั่งยืน โครงการเน้นการปลูกพืชที่กินได้ พืชสมุนไพร เพื่อส่งเสริมให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ และเป็นต้นที่สามารถนำมารับประทานได้ เช่น บริเวณรั้วโครงการ มีการใช้ไม้เลื้อย นอกจากจะเพิ่มความเป็นธรรมชาติแล้ว ยังสามารถนำมารับประทานได้อีกด้วย นอกจากนี้มีการเลือกใช้พืชพรรณที่มีความแตกต่างกันของระดับ สอดแทรกกันไปเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมชาติ มีการออกแบบโดยใช้พืชสมุนไพรไล่ยุงในบริเวณที่มีการใช้งานของผู้คน ส่วนไม้ต้นจะเน้นการใช้พืชพื้นถิ่นที่เหมาะสมกับบริบท และมีการแทรกไประหว่างต้นไม้เดิม โดยการดูแลรักษา จะใช้วิธีปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
พื้นที่นั่งพักผ่อนในโครงการ
ออกแบบให้เหมาะสมกับกายภาพแต่ละจุด มีทั้งที่นั่งที่เป็นลาน เป็นตั่ง เป็นแคร่ เป็นที่นั่งริมน้ำ ขึ้นกับมุมมองและบริบทของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน โดยจะมีพื้นที่รองรับผู้ใช้งานทั้งแบบ private และ public