บริษัท สนิทัศน์ สตูดิโอ จำกัด

ข้ามจักรวาล

Landscape Art | Exhibition: Excellent Award

“The thorough research process such as the Buddhist cosmology was well adapted into the design concept. This project is a paramount of Thai landscape architecture project that could raise the awareness towards the Thai wisdom among the Thais and the global citizen.”

2019 AWARDS JURY

Project Summary:

AS PART OF BANGKOK ART BIENNALE, THE WORK “ACROSS THE UNIVERSE AND BEYOND” IS A SITE-SPECIFIC WORK AT KHAO MO, WAT ARUN. THE RESEARCH ON TRAIBHUMI, ALLOWS SANITAS TO CREATE A CONTEMPORARY VERSION OF THE SACRED ENCLOSURE.

THE INSTALLATION LITERALLY BRINGS BACK TO LIFE THE NEGLECTED KHAO MO. THE PLAY OF SPACE AND LIGHT MAKES THE VIEWER AWARE OF SELF AS EACH STEP TAKEN INSIDE THE ENCLOSURE NEEDS TO BE WITH CARE. IN BETWEEN STATES OF PERMANENCE, EPHEMERAL AND NOTHINGNESS THIS MASTERFULLY EXECUTED INSTALLATION REMINDS US, HOW SMALL WE ARE IN THIS UNIVERSE. WE ARE MADE UP OF PARTICLES OF DUST AND DIRT.

KHAO MO IS A REPLICA MOUNTAIN, AN IMITATION OF NATURE CREATED IN THE LIVING ENVIRONMENT OF HUMANS. THE FIRST OF ITS KIND CAME INTO EXISTENCE IN THAILAND IN THE AYUTTHAYA PERIOD. THE KHAO MO AT WAT ARUN (TEMPLE OF THE DAWN) WAS ORIGINALLY BUILT IN THE REIGN OF KING RAMA II AT THE GRAND PALACE AND WAS RELOCATED TO THE FRONT OF THE TEMPLE TO ITS NORTH FOLLOWING THE COMMAND OF KING RAMA III. WITH REFERENCE TO THE BUDDHIST COSMOLOGY, KHAO MO REPRESENTS THE HIMMAPHAN, THE FOREST WHERE ALL LIVING CREATURES REPEAT THEIR CYCLE OF BIRTH AND DEATH, AS TOLD IN THE STORY OF TRIBHUMI.

ONE OF THE BUDDHIST CHANTS IN THE TRIBHUMI IS THE LOKAVIDU WHICH CELEBRATES THE ENLIGHTENMENT OF THE BUDDHA. IN THE BUDDHA’S TIME, THE TERM LOKAVIDU, WHICH MEANS “KNOWER OF THE COSMOS,” REFERS TO THE BUDDHA’S ENLIGHTENMENT ABOUT THE KHANDHA-LOKA (ขันธโลก), OR “THE WORLD OF AGGREGATES”, WHICH PLACES FOCUS ON THE INNER WORLD, OR THE SELF, INSTEAD OF THE OUTER WORLD, BOTH OF WHICH EXPERIENCE ENDLESS BIRTHS AND DEATHS.AS BIRTH AND DEATH TAKE PLACE IN THE HIMMAPHAN THAT IS REPLICATED AS KHAO MO, MY ATTEMPT TO CONVEY A NEW INTERPRETATION OF LOKAVIDU IS TO OPEN UP A SPACE WHERE PEOPLE CAN BECOME AWARE OF AND REFLECT ON THEIR THOUGHTS.

THIS INSTALLATION INVITES PEOPLE IN FOR AN EXPLORATION, TO TAKE A JOURNEY FROM THE WORLD OUTSIDE TO THE SPACE INSIDE AND LOOK WITHIN RATHER THAN OUT OF THEMSELVES. IT

LEADS THE FOCUS FROM THE OUTER WORLD TO THE INNER WORLD, THEN FROM SELF TO NON-SELF BY ASKING THE FOLLOWING QUESTIONS:

WHAT ARE WE HOLDING ON TO?

IS WHAT WE SEE WHAT IT IS?

ARE WE NO DIFFERENT FROM THE KHAO MO?

OR AREN’T WE EVEN COSMIC DUST, PARTICLES IN THE UNIVERSE?

[*in English: brief summary about the project. Maximum of 400 words. Please use easy-to-read fonts, size not smaller than Cordia14] [**หากได้รับรางวัล ข้อความส่วนนี้จะถูกนำไปใช้ในการจัดทำหนังสือ TALA Awards 2019]

เขามอ โดยทั่วไปเป็นการจำลองธรรมชาติมาไว้ใกล้คน เริ่มเกิดขึ้นในไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เขามอในวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล 2 และโปรดให้นำภูเขาจำลองในพระบรมมหาราชวังมา จัดวางบริเวณหน้าวัดอรุณฯด้านเหนือในรัชกาล 3 ภายใต้แนวคิดของการวางผังรวมตามคติจักรวาล พื้นที่ เขามอนี้จึงมีความหมายสื่อถึงป่าหิมพานต์ ทั้งยังเป็นบริบทแวดล้อมของเรื่องเล่าตามหลักไตรภูมิ อันเป็นที่ที่สัตว์โลกต่างเวียนว่ายตายเกิดด้วย

หลักสรรเสริญหนึ่งในไตรภูมิ คือ “โลกะวิทู“ ของพระพุทธเจ้า เป็นการรู้แจ้งโลก หากแต่ในสมัยพุทธกาล “โลกะวิทู“ ของพระพุทธเจ้า เป็นการรู้แจ้ง ในขันธโลก (สังขารทั้งหลาย) เน้นให้เราสนใจ “โลกภายใน” คือ “ตัวเรา” ไม่ใช่ “โลก” ที่อยู่ภายนอก ซึ่งต่างก็ประสบทั้งการเกิดและการดับไม่จีรัง ไม่ต่างกัน

เมื่อเรื่องราวตามเรื่องเล่าเกิดบนแดนป่าหิมพานต์ซึ่งจำลองด้วย “เขามอ” ความพยายามในการตีความและสื่อแนวคิด “โลกะวิทู“ ในรูปแบบใหม่ จึงเป็นการเปิดสถานที่ให้คนได้มีพื้นที่ในการสะท้อนความตระหนักรู้ ตระหนักคิดของตนเอง

งานศิลปะจัดวางนี้จึงเป็นการเปิดสถานที่ให้ผู้คนได้สำรวจ เดินทาง จากภายนอก มาสู่ภายใน จากการมองภายนอก มาสู่การมองภายใน เปรียบเสมือนการนำพาความสนใจของคน จาก “โลก” ภายนอก มาสู่ “โลก” ภายใน และจากความมีตัวตน สู่ความไร้ตัวตน เป็นการเปิดสู่คำถาม

เรากำลังยึดติดอยู่กับอะไร?

สิ่งที่เห็น คือ สิ่งที่เป็นหรือไม่?

ตัวเราไม่ต่างอะไรจากเขามอ?

หรือเราไม่ได้เป็นแม้กระทั่งฝุ่นของจักรวาล?

ชื่อโครงการ : ข้ามจักรวาล
สถานที่ตั้ง : เขามอ, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย    
LANDSCAPE ARCHITECT : บริษัท สนิทัศน์ สตูดิโอ จำกัด
หัวหน้าโครงการ : สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์
ภูมิสถาปนิกโครงการ : สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์
Client/Owner : เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผู้รับเหมางานภูมิทัศน์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทริปเปิ้ลไนน์ เพอร์เฟคโฮม
Photography Credit : ดับเบิ้ลยู เวิร์คสเปซ

หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน : 
Bangkok Art Biennale 2018
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
กรมศิลปากร
บริษัท ทรี สแควร์ สตูดิโอ จำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจรุ่งเรือง สตีล (2010) สำนักงานใหญ่
บริษัท โมโน กรุ๊ป จำกัด
Big Tree
Ligman Lighting Co.,ltd

ลักษณะโครงการ:

Installation art (ศิลปะจัดวาง)

แนวคิดหลักของโครงการ:

ศิลปะจัดวางในพื้นที่เขามอ เริ่มจากการค้นคว้าประวัติความเป็นมาต่างๆ พบว่า เขามอเป็นพื้นที่พักผ่อนของคนในอดีต โดยมีแนวคิดจำลองจากป่าหิมพานต์ บริบทหนึ่งตามเรื่องเล่าในไตรภูมิ จึงแบ่งเนื้องานเป็น 2 ส่วน หนึ่งการฟื้นฟูเขามอให้กลับมาเป็นพื้นที่หย่อนใจ สองการทำศิลปะจัดวางจากบริบทของพื้นที่ทั้งแนวคิดวางผังเดิมและการใช้งาน

หนึ่งแนวคิดหลักในไตรภูมิถูกยกขึ้นมาเป็นหัวใจในการนำเสนอผลงาน “โลกะวิทู” การสนใจภายในตัวเรา ไม่ใช่โลกภายนอก จึงพยายามสร้างพื้นที่เพื่อกำหนดลำดับให้คนได้รับรู้จากภายนอกสู่ภายใน ค่อยๆเห็นการเปลี่ยนแปลงไปทั้งจากการสะท้อนของสภาพแวดล้อมบนผิวของผลงานหรือจากการเน้นให้เห็น “ความเปลี่ยนแปลง” ด้วยแสงสีแดงในพื้นที่จัดแสดง

รายละเอียดโครงการ:

ขนาดพื้นที่ / บริบท / ขอบเขตการออกแบบ

“ข้ามจักรวาล” จัดแสดงภายในพื้นที่เขามอ วัดอรุณฯ ขนาดพื้นที่ประมาณ 16x20 เมตร สูง 4 เมตร มีหลายองค์ประกอบในพื้นที่จัดแสดงเพื่อร่วมสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เข้าชมงาน

แนวคิดการออกแบบ

แนวคิดหลักได้แรงบันดาลใจจากบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วยงาน 5 ชิ้น ได้แก่

1. The Red Emptiness : อคริลิกสีแดงชาด จากสีภาพจิตรกรรมในอุโบสถ ที่นำมาล้อมเพื่อแสดงพื้นที่ “ภายใน” มีงานเงินเปลวและพ่นสีเพื่อผ่านรูปดาวเพดานเทียบกับดาวในจักรวาล สื่อความไม่เที่ยง และแสงแดดที่ส่องผ่านอคริลิกสีแดงชาดเกิดแสงสีแดงคลุมในพื้นที่จัดแสดง เน้นให้ผู้คนได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

2. The World Outside : หุ่นจำลองพระปรางค์ปิดผิวด้วยกระจกแก้วตัวแทนของความเชื่อที่ถูกกลบทับด้วยภาพสะท้อนจากบริบทภายนอกจนบางครั้งมองไม่เห็นว่ามีอะไรอยู่

3. The World With In : การตั้งคำถามผ่านจากฐานรากว่าสิ่งที่เราเชื่อว่ามีอยู่นั้น จริงๆแล้วคืออะไร

4. Untitled : สุดท้ายแล้วสิ่งที่อยู่ภายในมีเพียงแต่ความว่างเปล่า เปลือกหุ้มภายนอกก็แตกสลายไม่ได้สะท้อนให้เห็นตัวตนของสิ่งใด เช่นเดียวกับตัวเรา มีสมมติเป็นเปลือกห่อหุ้มอยู่ภายนอกมาตั้งแต่เกิดเสมือนให้เห็นว่าเราต่างกัน แต่ภายในนั้นก็เหมือนกัน ไม่ต่างอะไรกับสรรพสิ่งทั้งหลาย ที่ท้ายสุดต่างวิ่งวนสู่ความว่างเปล่า ไม่ได้เป็นอะไร ไม่เหลือตัวตน

5. From Self to Nothingness : จากกระจกแผ่นใหญ่ที่สะท้อนเห็นตัวเรา เห็นความเป็นเรา สุดท้ายกระจกนั้นก็เปลี่ยนแปลงไป สะท้อนแต่สิ่งไม่มีชีวิต อนินทรีวัตถุ ความว่างเปล่า ไม่เห็นความเป็นตัวเรา ไม่เหลือตัวตนของเราอีกต่อไป

กลุ่มที่ปรึกษาโครงการ

- Bangkok Art Biennale 2018 ผู้จัดงานและผู้ประสานงานหลักของโครงการ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน และรูปแบบในการจัดแสดงงาน

- วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เจ้าของสถานที่จัดงาน ให้ความช่วยเหลือในการประสานงานโครงการและให้คำปรึกษาในการดำเนินงาน

- ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร ให้คำปรึกษาในด้านความเป็นไปได้ของการจัดแสดงงาน การฟื้นฟูเขามอ และการปรับปรุงพืชพรรณในพื้นที่เขามอ

การเลือกใช้วัสดุและพืชพรรณ

จากการศึกษาลักษณะของเขามอ วัดอรุณฯในอดีตผ่านภาพถ่ายโบราณ และผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร ทำให้พอจะทราบว่า เขามอ จะต้องเผยให้หินเนื้อหินประมาณร้อยละ 80 โดยพืชประกอบจะต้องมีระบบรากที่ไม่ซอกซอนทำลายเนื้อหิน มีระบบรากที่ไม่รุนแรง

ในการทำงานช่วงแรกที่ฟื้นฟูเขามอ เราต้องกำจัดวัชพืชต่างๆออกก่อน โดยเฉพาะพวกต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู่บนเขา จากนั้นในช่วงการจัดแสดงงาน จึงปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเรื่องชนิดพรรณไม้ที่ใช้ประกอบ จะเป็นพวกไม้พุ่มเตี้ยและให้กลิ่นหอมอย่างสวนไทย เช่น พุด เตย เป็นต้น

โดยระหว่างการทำงาน ต้องประสานงานกับหลายภาคส่วนได้แก่ ทางวัด และ พื้นที่กรมศิลปากร เพื่อปรึกษาแนวทางบูรณะ และทาง Bangkok Art Bienale ถึงภาพรวมของงานทั้งหมด กระบวนการและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่สำคัญ การเลือกใช้วัสดุ / พืชพรรณ ผลกระทบของการออกแบบที่มีต่อสภาพแวดล้อมและพื้นที่โดยรอบ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การบูรณาการความรู้ต่างสาขา รวมทั้งปัจจุบันและอนาคต การบูรณาการความรู้ต่างสาขา รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญต่อโครงการ แนวคิดในการสร้างความยั่งยืนให้กับงานออกแบบ ฯลฯ