บริษัท วีวี ดีซายน์ แลนสเคป อาร์คิเทค จำกัด

สนามเด็กเล่นเพื่อการเรียนรู้ : ฟาร์มน้อย

Public Space - Small Area: Honor Award

“We had not seen much of the project that intentionally building a small garden for niche users. This project is an inspiration. It can create their own way of playing by avoiding the ready-made playground equipment. The landscape architecture catalyzes the learning experience that could help with children’s development and their thinking skills. ”

2019 AWARDS JURY

Project Summary:

“Little Harvest”

The idea of concepting this playground inspired from 3 factors. Firstly, being educational playground where childredn can play, learn, develop their skills and their physical & mental development, secondly it has to be a playground that related to site's context, charcter or history and finally, this playground must be a place where family can play, learn and spend their quility time togehter.

The farming concept was generated from architectural character "New England Farm House" around the site. 4 processes of farming are interprated to be 4 play stations intergrated with 4 different sense of learning as follow,

The animal farming : sense of discovery : follow foots step , hide & seek

Stock barn : sense of slow movement : low climbing on seat and post

Harvest : sense of connecting conceptual form to complete form : pumpkin play houses

Celebration : sense of color and fast movement : hopscoth, road, slide and circle

All play and learning stations linked in loop which allow children to play and able to connect their learning and explore unlimitedly.

ชื่อโครงการ : สนามเด็กเล่นเพื่อการเรียนรู้ : ฟาร์มน้อย
สถานที่ตั้ง : หมู่บ้านบุราสิริ ปัญญาอินทรา ถนนเลียบคลองสอง เขตคลองสามวากรุงเทพมหานคร
LANDSCAPE ARCHITECT : บริษัท วีวี ดีซายน์ แลนสเคป อาร์คิเทค จำกัด
หัวหน้าโครงการ : วงศ์วสุ เฉลยทรัพย์ , วิจิตรารัตน์ เฉลยทรัพย์
ภูมิสถาปนิกโครงการ : วงศ์วสุ เฉลยทรัพย์
Client/Owner : บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
Photography Credit : พาโนรามิค สตูดิโอ

หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน : 
Graphic : ชุติมาส  จรัสวิชญ์
Supplier : บริษัท ฮาน โพรดักส์ จำกัด

ลักษณะโครงการ:

พื้นที่สนามเด็กเล่นและกิจกรรมชุมชนขนาดเล็ก (Small Public Community Space)

แนวคิดหลักของโครงการ:

“Little Harvest : ฟาร์มน้อย” ที่มาของการสร้างสนามเด็กเล่นเพื่อการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมภายใต้ “Little Harvest” หรือ ฟาร์มน้อยนั้น มาจากบริบทของอาคารในพื้นที่ ที่เป็นลักษณะ New England Farmhouse ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ เช่น ผนังบังใบไม้ เข็มทิศรูปสัตว์ที่ยอดจั่วหลังคา คิ้วหน้าต่าง บังผนัง ต่างๆ ประกอบกันเป็นที่มาของการสร้างสนามเด็กเล่นเพื่อการเรียนรู้ผ่านกระบวนการต่างๆในฟาร์ม ให้เด็กสามารถเล่นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และสามารถเล่นและเรียนรู้ซึ่งกันและกันไปทั้งครอบครัวได้

รายละเอียดโครงการ:

โครงการมุ่งออกแบบสนามเด็กเล่นภายใต้ 3 เป้าหมายหลัก คือ ให้เป็นสนามเด็กเล่นเพื่อการเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ เป็นสนามเด็กเล่นที่สอดคล้องกับบริบท หรือ ตัวตนของพื้นที่โดยรอบ และ เป็นสนามที่ทุกคน ทุกเพศทุกวัยเล่นด้วยกันได้ ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลที่นำไปสู่การออกแบบจึงเริ่มต้นที่ 3 ข้อมูลหลักๆ ดังนี้

1&2 การเรียนรู้ของเด็ก พัฒนาการ ประกอบกับขั้นตอนของการทำฟาร์ม การออกแบบคำนึงถึงการเรียนรู้ และ พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยที่แตกต่างกัน โดยประกอบเข้ากับกระบวนการต่างๆในฟาร์ม ดังนี้

กระบวนการเลี้ยง และ ทำปศุสัตว์

โครงการใช้เป็ด  และ ไก่เพื่อเป็นตัวแทนของการทำปศุสัตว์ของฟาร์มน้อย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ใกล้ตัว และ ลักษณะสีของเปลือกไข่มีความแตกต่างกัน การออกแบบสร้างเส้นทางเดินตามรอยเท้าสัตว์เข้าไปในสวนวงกตเพื่อค้นหา แล้วเดินต่อเข้าไปในโรงนา ทั้งการเดินตามรอยเท้าสัตว์ และ สวนวงกต เป็นการเล่นเพื่อพัฒนา Sense Of Discovery ให้กับเด็ก

การเลือกพรรณไม้เลือกต้นไทรตัดแต่งเป็นสวนวงกตง่ายๆ ใช้ความสูง 1.20-1.50 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นซ่อนหาได้ โดยที่ผู้ใหญ่ยังสามารถมองเห็นได้ตลอดเพื่อความปลอดภัย นอกจากนั้นต้นกระดาดเขียวที่มีใบใหญ่ ยังช่วยเสริมพื้นที่ให้เด็กสามารถใช้ใบที่มีขนาดใหญ่เป็นที่บัง หรือ ให้ร่มเงาเหมือนต้นไม้ใหญ่ให้กับเด็กได้เช่นกัน

    

กระบวนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

เลือกใช้อาคารโรงนา (Barn) ที่เป็นทั้งภาพจำของฟาร์ม และเป็นพื้นที่ที่รวบรวมสิ่งต่างๆในฟาร์มไว้ด้วยกัน ทั้งเครื่องมือ โรงเลี้ยงไก่ โรงเก็บไข่ ลังต่างๆ การออกแบบโรงนาใช้ความสูงไม่มากแต่ด้านในออกแบบฝ้าให้สูง และทาสีเดียวตลอดทั้งหมดเพื่อให้พื้นที่ภายในดูสูงสำหรับเด็ก ภายในใส่กิจกรรมการปีนป่ายเสา ไข่ ที่นั่งรูปไข่ และ Conceptual Form ของไข่ เพื่อให้เด็กสามารถเชื่อมโยงรูปทรงจาก Conceptual Form ไปเป็น Solid Form ได้ และที่นั่ง ปีนป่ายภายในอาคารที่มีร่มเงาเหล่านี้ยังสามารถเป็นที่นั่งรอ หรือเฝ้าดูของผู้ปกครองได้ และด้วยตำแหน่งช่องเปิดที่สัมพันธ์กับการวางเครื่องเล่นในจุดต่างๆ ทำให้ผู้ปกครองสามารถมองเห็นพื้นที่ต่างๆได้ตลอดเพื่อความลอดภัย นอกจากนี้ โรงนานี้ยังสามารถเป็นที่เล่นของเด็กเล็กที่ต้องการพื้นที่ที่ปิดล้อม และต้องการการดูแลจากผู้ปกครองมากกว่าเด็กโตได้ด้วยเช่นกัน

กระบวนการเพาะปลูก

ออกแบบให้เด็กเรียนรู้เรื่องของการเชื่อมโยงรูปทรงแบบ Conceptual Form เข้ากับรูปทรงแบบ Solid Form ผ่านเครื่องเล่นฟักทองสองชิ้น โดยชิ้นแรกเป็น Solid Form ที่เว้าพื้นที่เข้าไปภายในและใส่เกมส์หมุนต่อภาพเอาไว้ สีที่ใช้เป็นสีส้ม กับ สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีคู่ตรงข้ามกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกสนุก ในขณะที่ชิ้นที่สองเป็นฟักทองแบบ Conceptual Form ที่เห็นเป็นลักษณะโครงให้ปีนป่าย และจบด้วยสไลเดอร์ที่ด้านปลาย เพื่อเป็นการเคลื่อนที่ต่อไปยังส่วนต่อไป

กระบวนการเฉลิมฉลอง

เป็นการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวแบบต่างๆทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การปีน การจับ การคลาน และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ได้แก่  การกระโดด การวิ่ง การเดิน ซึ่งกิจกรรมการเคลื่อนไหวนั้นต่อเนื่องมาจากสไลด์เดอร์ เคลื่อนที่ไปตามถนนที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ฟาร์มต่างๆ ไปที่ส่วน Hopscothch ที่เป็นการกระโดดตามตัวเลข และเป็นพื้นที่ที่มีสีสันมากที่สุดของสนาม