Shma Co.,Ltd

โครงการจัดทำผังแม่บทขั้นต้น สวนสาธารณะเบญจกิติ ส่วนที่ 2

Master Planning: Honor Award

“This project creates a gigantic green area in the heart of a megacity. The open spaces and functional spaces are designed to be well connected. The water element is thoughtful. It creates a serene atmosphere.”

2019 AWARDS JURY

Project Summary :

Concept idea of Benjakiti Park Phase II is ‘Forest Seed.’ The park has forest like environment that caters for learning and getting relaxed, and also enhance urban ecology. The landscape design aims for accessibility for Bangkokian and green space.

The project site plan is separated into 4 zones;

1. Commemoration Zone

This zone is a 500 meter long and 150 meter wide open square that caters for events with large number of people. A museum is hidden under a mound in this zone.

2. Art and Culture Zone

The zone is connected to surrounding neighborhoods and BTS skywalk; hence, it is easily accessible. A gallery and a city hall are also located in the zone.

3. Sport Zone

Sport zone is a green space with various sports and exercise programs. Universal design is applied in this zone to accommodate everyone inclusively.

4. Forest Zone

This lush green zone is a lung of Bangkok, a home for birds, as well as a learning center for those who are interested in nature. A big pond in this zone helps retain stormwater in the rainy season.

ชื่อโครงการ : โครงการจัดทำผังแม่บทขั้นต้น สวนสาธารณะเบญจกิติ ส่วนที่ 2
สถานที่ตั้ง : บ้านหนองแฟบ ต.มาบตาพุด จ. ระยอง
LANDSCAPE ARCHITECT : บริษัท ฉมา จำกัด
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ปราณิศา บุญค้ำ , ศาสตราจารย์(กิตติคุณ) เดชา บุญค้ำ
ภูมิสถาปนิกโครงการ : ยศพล บุญสม / วรวีร์ แจ่มสมบูรณ์    
Client/Owner : กรมธนารักษ์

หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน : 
ที่ปรึกษาด้านภูมิสถาปัตยกรรมและงานวางผังสวนสาธารณะ  - CIDAR
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. เดชา บุญค้ำ

ภูมิสถาปนิกและนักวางผัง -
ปราณิศา บุญค้ำ
ยศพล บุญสม
วรวีร์ แจ่มสมบูรณ์
ภวินท์ สิริสาลี
ปิยวุฒิ คุ้มสิริพิทักษ์

สถาปนิก
พันธุ์พงษ์ วิวัฒน์กุล

วิศวกร
ดร.นวพล กฤษณามระ

ที่ปรึกษาเฉพาะทาง
ผศ.ดร. อรรจน์ เศรษฐบุตร
ดร.สรัสไชย องค์ประเสริฐ
ธนัช รุ้งวงศ์ศรี
อลิษา สหวัชรินทร์

ลักษณะโครงการ :

ผังแม่บทระยะยาว สวนสาธารณะ

แนวคิดหลักของโครงการ :

บ่มเพาะ “เมล็ดพันธุ์” แห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ในใจคน สวนสาธารณะแห่งนี้จะเป็นสวนสาธารณะบรรยากาศป่า สาหรับการเรียนรู้ พักผ่อนทางกาย ใจของผู้คนที่ยังเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์เมืองอย่างยั่งยืน เราใช้เนินดินธรรมชาติหมุนวนเป็นเกลียวจากอาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมชาติและชีวิตทั้งมวล โดยเนินที่โอบล้อมเปรียบเสมือนพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างป่าเพื่อช่วยดำรงรักษาระบบนิเวศน์และแหล่งน้ำในธรรมชาติให้คงอยู่ ดังพระราชดำรัสที่ว่า “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภัคดีต่อน้ำ ... พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า...” รูปทรงของเนินรูปเกลียวนี้ยังสะท้อนการเติบโตของต้นไม้จากเมล็ดพันธุ์เสมือนการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างถาวร

จึงเกิดเป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่มีการแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น4ส่วนหลักๆดังต่อไปนี้

1.ส่วนเฉลิมพระเกียรติ

2.ส่วนศิลปะและวัฒนธรรม

3.ส่วนกีฬาและนันทนาการ

4.ส่วนป่าและเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

รายละเอียดโครงการ:

1.ส่วนเฉลิมพระเกียรติ– พื้นที่ส่วนนี้เป็นส่วนลานโล่งไว้เพื่อจัดกิจกรรม ที่รองรับคนปริมาณมาก มีความยาวอยู่ที่ 500 เมตร และกว้าง 150 เมตร มีขนาดใกล้เคียงกับสนามหลวงพอสมควร แต่ถ้ารวมพื้นที่เปิดโล่งที่เป็นลานอเนกประสงค์ที่สามารถเอาไว้แข่งกีฬาได้ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งผู้ออกแบบได้สร้างแนวแกนของการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ประชุมเพื่อให้เกิดมุมมองที่ต่อเนื่อง มองผ่านสวนไปยังเนินดินที่บิดเป็นเกลียวซึ่งเป็นจุดกำเนิดของสวนป่าแห่งนี้ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้เนินนี้ และที่ว่างนี้ยังสามารถรับคนที่มาร่วมงานบริเวณศูนย์ประชุมแห่งชาติ ให้ต่อเนื่องออกมายังพื้นที่สวนสาธารณะได้อีกด้วย นอกไปจากนั้นพื้นที่โล่งยังถูกออกแบบไว้ให้รองรับเทศกาลสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลอยกระทงหรือวันสำคัญต่างๆได้อีก

2.ส่วนศิลปวัฒนธรรม- ส่วนบริเวณที่ติดกับทางเข้าและส่วนที่สามารถเชื่อมต่อกับย่านๆต่างๆได้จะถูกเปิดให้เป็นส่วนวัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อสร้างแรงดึงดูดแก่นักท่องเที่ยว หรือ คนที่สัญจรไปมา โดยส่วนนี้จะประกอบไปด้วยหอศิลป์และส่วนลานคนเมือง เพื่อให้ชุมชนต่างๆเข้ามาใช้งานและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันได้ ซึ่งอาคารทั้งหมดในพื้นที่จะถูกเชื่อมโยงกับคนเมืองผ่านทางการเชื่อมต่อทางเส้นทางเดินลอยฟ้า ที่เชื่อมโยงกับรถไฟฟ้ามหานครซึ่งจะรองรับคนจากทั่วทั้งกรุงเทพผ่านทางระบบขนส่งมวลชนให้ต่อเนื่องมายังพื้นที่สวนสาธารณะได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทางลอยฟ้านั้นถูกยกระดับให้สายตาอยู่ที่ระดับยอดไม้ ทำให้สามารถเป็นเส้นทางศึกษายอดไม้ของสวนป่าแห่งนี้ได้อีกด้วย พื้นที่ในส่วนนี้ที่ต่อเนื่องกับบ่อน้ำ จะสร้างเป็นเกาะประติมากรรม เพื่อสร้างมุมมองที่โดดเด่นจากทุกมุมมองรอบบ่อน้ำ ให้เห็นสวนประติมากรรมอันโดดเด็ดลอยตัวอยู่กลางน้ำ

3.ส่วนกีฬา-เป็นส่วนที่รองรับการใช้งานทุกวันของคนกรุงเทพให้มีพื้นที่สีเขียวในการออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจได้ ดังนั้นจึงออกแบบให้มีอยู่ในทุกๆส่วนของสวนสาธารณะ โดยการออกแบบเส้นทางสัญจร ได้มีการออกแบบเตรียมการไว้สำหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อคนทุกเพศวัย ให้สามารถเข้ามาใช้งานในสวนสาธารณะแห่งนี้ได้ทุกวัน ซึ่งได้มีแนวความคิดที่จะเชื่อมทางรถไฟฟ้าใต้ดินให้ยาวต่อเนื่องเข้ามายังพื้นที่สวนเลยโดยไม่จำเป็นต้องเดินขึ้นมายังพื้นดิน ต่อเนื่องเข้ามาถึงโครงการได้เลยเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของคนเมืองจากรถไฟฟ้าใต้ดิน

4.ส่วนป่า- เป็นปอดให้กับกรุงเทพมหานคร และยังเป็นพื้นที่เรียนรู้ธรรมชาติ ที่เริ่มจะหายากในเมืองหลวงแห่งนี้แล้ว ถูกแบ่งออกเป็นป่าต้นน้ำ ป่าบำบัดน้ำ และป่าในภูมิภาคกลาง ที่ถูกย่อยออกเป็นแต่ละหมวดหมู่ย่อยลงไปอีก และการขุดบ่อน้ำในพื้นที่ซึ่งมีปริมาตร 216,600 ลบ.ม. นั้นมีเหตุผลเพื่อเอาไว้รองรับน้ำของสวนสาธารณะด้วยตัวของมันเอง และสามารถนำน้ำที่ได้นั้นมาหมุนเวียนเพื่อใช้ในการรดน้ำต้นไม้และบำบัด ส่วนปริมาณดินที่ขุดจากบ่อน้ำขึ้นมาก็จะนำมาปั้นเป็นเนินดิน ที่มีระดับ สร้างให้เกิดช่องลม ซึ่งสร้างสภาวะน่าสบายแก่ผู้เข้ามาใช้งาน ในส่วนของการกักเก็บน้ำในพื้นที่จะสร้างทางระบายน้ำที่เป็น”ร่องสวน”ซึ่งจะเป็นร่องน้ำให้น้ำจากทั่วพื้นที่ไหลผ่านพืชบำบัดน้ำใช้ในการกรองก่อนถูกปล่อยลงสู่บ่อน้ำ ซึ่งตัวบ่อน้ำจะมีหน้าที่บำบัดอีกครั้งก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ ในการออกแบบพื้นที่ริมน้ำจะมีการปลูกพืชบำบัดไว้ตลอดทาง จึงมีการทำทางเดินชมธรรมชาติเพื่อให้เข้าถึงเส้นทางริมน้ำได้มากขึ้น นอกไปจากนั้นในส่วนที่เป็นสวนป่ายังมีพื้นที่ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของนกซึ่งจะถูกปล่อยเป็นเกาะเอาไว้ให้มองเห็นตัวหอนาฬิกาได้ แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และมีสวนสติที่มีศาลาสมาธิเป็นส่วนที่เงียบสงบในป่า เหมาะสำหรับผู้คนที่ต้องการมานั่งสมาธิในสวนแห่งนี้

การเข้าถึงพื้นที่ – ในการออกแบบ จะมีการเชื่อมต่อของระบบขนส่งมวลชนในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น รถไฟลอยฟ้า ที่สร้างความต่อเนื่องของทางเดินลอยฟ้าให้เชื่อมต่อมายังสวน หรือแม้กระทั่งการเชื่อมต่อทางใต้ดินจากรถไฟฟ้าใต้ดินให้เข้ามายังพื้นที่โครงการเลย นอกจากนี้ยังเห็นความสำคัญของทางจักรยานเดิมจากสวนลุมพินี และได้สร้างทางจักรยานให้มีจุดลงในพื้นที่โครงการสวนสาธารณะเช่นกัน ปริมาณพื้นที่สีเขียว - ในการออกแบบสวนสาธารณะบรรยากาศป่านั้นการมีพื้นที่ดาดแข็งจะส่งผลให้พื้นที่ปลูกต้นไม้น้อยลงดังนั้นการแก้ปัญหาที่จอดรถซึ่งมีพื้นที่ดาดแข็งมากเกินไป จึงแก้ด้วยการนำที่จอดรถซึ่งเป็นพื้นที่ดาดแข็งนั้นลงไว้ใต้ดิน และยังคงพื้นที่สีเขียวเอาไว้ปลูกต้นไม้ดังเดิม ดังนั้นปริมาณพื้นที่อาคารและพื้นที่ดาดแข็งคิดได้ร้อยละหก ส่วนพื้นที่เปิดโล่งคิดได้ร้อยละเก้าสิบสี่ จะเห็นได้ว่ามีการให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียวเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่เป็นโรงงานเดิม และมีต้นไม้ใหญ่อยู่เดิมเยอะมากจึงได้มีการเก็บต้นไม้เดิมของพื้นที่ไว้ทั้งหมด และนอกจากนั้นยังมีการเก็บรักษาโครงสร้างของอาคารเก่าของโรงงานยาสูบไว้จำนวนหนึ่งหลัง เพื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่และเพื่อสร้างคุณค่าของอาคารเก่าของพื้นที่อีกด้วย

แนวความคิดทั้งหมดเมื่อนำสี่ส่วนมารวมกัน ก็จะกำเนิดเป็นสวนป่าที่มีการใช้งานและยังทำหน้าเป็นเสมือนบ้านและปอดของคนเมืองอีกด้วย