บริษัท พีแลนด์สเคป จำกัด

โรสวูด ภูเก็ต

Hospitality: Excellent Award

“The existing natural condition is well conserved. The planting selection that focuses on using the native species and arrange them with natural composition creates the unique identity of this project. The utilization of bioswales could support the ecosystem.”

(2019 Awards Jury)

Project Summary:

Rosewood, Phuket, Thailand

Project Area : 100,400 Sq.m.

Beauty, Function and Poetic Landscape to Balance with Environment, Culture and Nature”

Rosewood Phuket project is a high-end resort opened on November 2017 situated in Phuket Island. The tourism development has been scattering around natural islands of southern Thailand through the past decade which create with a consequent result of destruction of the nature. Unlike typical resort development, which is aggressive method and installation, Rosewood Phuket has taken its mild and gentle approach in many resilient methods since the very beginning. 

“Bring back the charm of Phuket” is the main aspiration from the landscape architect in the aspect of not only aesthetic but also environment, culture and nature. The charm of Phuket is the green forest and blue sea, and its local vitality of all creatures. The vitality is supported by a healthy and self-purified land. As such, revitalizing the native greenery, water treatment throughout the project site and a discreetly approach of physical design are three main aspects of how the sustainable landscape built in Rosewood Phuket. With nearly 7 years nonstop efforts for landscape design to completion, Rosewood Phuket is now turning into a habitant destination not only for human being but also native fauna and flora. 

The objective of the landscape design is to look beautiful while using minimal water, require minimal input, and help to provide energy saving for the site. In order to achieve this, several methods are taken into main concern in early design stage and have been successfully implemented on site. At first, an in-depth site observation and research for native plants had been conducted to record the exact species which aim to be utilized widely on the site. This strategy also provides warm welcome to new local inhabitants, such as birds, animals and insects. In term of water management, the landscape will be used to collect and filter this water for use in irrigation and grey water use in the Resort. In addition to this green and gravel roofs will be used to help provide energy savings in the buildings. To keep the surrounding microclimate cool and prevent water evaporation, the materials used for the resort hardscapes are to be either light in color, porous, or shaded by trees to reduce the heat island effect & prevent heat build-up. As a comprehensive result, these are to achieve a sustainable landscape in Rosewood Phuket hotel.

 


 

ชื่อโครงการ : โรสวูด ภูเก็ต
สถานที่ตั้ง : ภูเก็ต ประเทศไทย
บริษัท / ผู้ออกแบบ : บริษัท พีแลนด์สเคป จำกัด
หัวหน้าโครงการ : วรรณพร พรประภา
ภูมิสถาปนิกโครงการ : สุทิศา พัฒนพานิช / ภัทรพรรณ รักษ์กุลชน
ผู้ว่าจ้าง/เจ้าของโครงการ : บริษัท เอ็มเมอรัลด์ เบย์ รีสอร์ท จำกัด
ผู้รับเหมางานภูมิทัศน์ : บริษัท ไนน์ทีนธ แลนด์สเคป จำกัด / บริษัท กาดเกสร จำกัด
ลิขสิทธิ์ภาพ/ช่างภาพ : บริษัท พีแลนด์สเคป จำกัด / คุณวีรวุฒิ นนทเวชช์

Architect Firm :  Barstudio Co.,Ltd.
Lighting Designer : Barstudio Co.,Ltd.
Project Management : Development Management Group Co.,Ltd.

ลักษณะโครงการ: รีสอร์ท

รายละเอียดโครงการและแนวความคิดหลัก

โครงการ : โรสวูด ภูเก็ต

พื้นที่โครงการ : 100,400 ตารางเมตร


โรสวูด ภูเก็ตเป็นโครงการรีสอร์ท ตั้งอยู่บริเวณชายหาดไตรตรัง บนเกาะภูเก็ต ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีขนาดพื้นที่โดยประมาณ 65 ไร่ ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 89  ห้อง สปา ห้องจัดเลี้ยงริมหาด พื้นที่ภายนอกอาคารสำหรับจัดงานแต่งงาน สระว่ายน้ำสำหรับแขก และร้านอาหารจำนวน 3 ร้าน

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่โครงการประกอบไปด้วย พื้นที่ราบอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก และพื้นที่สูงที่มีความลาดชันอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออก ด้านเหนือติดทะลมีชายหาดด้านหน้ายาวประมาณ 600 เมตร ทั้งนี้ทางฝั่งพื้นที่ราบเคยเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้แทบจะไม่มีต้นไม้เดิมหลงเหลืออยู่เลยในพื้นที่ส่วนนี้ ยกเว้นแนวต้นสนทะเลเดิมหน้าชายหาด ต้นมะพร้าว และต้นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนพื้นที่บนเขาไม่ได้รับผลกระทบมากนักยังคงมีสภาพเกือบสมบูรณ์

แนวความคิดหลักในการออกแบบมุ่งเน้นที่จะนำมนต์เสน่ห์ดั้งเดิมของภูเก็ต คือพื้นป่าสีเขียวตัดกับน้ำทะเลสีครามกลับคืน จุดเริ่มต้นของกระบวนการออกแบบ คือการศึกษาทางกายภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลพืชพรรณท้องถิ่นที่พบและเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณโครงการและพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากพรรณไม้ที่ต้องการอนุรักษ์ไว้ไม่สามารถหาได้ตามแหล่งเพาะชำต้นไม้ทั่วไป จึงผลักดันให้มีการขยายพันธุ์เพื่อนำพืชพรรณท้องถิ่นเหล่านั้นกลับมาใช้ในพื้นที่ โดยกระบวนการสำรวจ เก็บตัวอย่าง ศึกษาชนิดของพืช แยกประเภทและลักษณะนิสัยของพืช เลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมต่อโครงการและการใช้งานของพื้นที่นั้นๆ และนำกลับไปให้ชาวบ้านและผู้เพาะขายต้นไม้ในพื้นที่เพื่อนำไปขยายพันธุ์ และกลับมาใช้ในโครงการ นอกจากเป็นการใช้พืขพื้นถิ่นซึ่งแข็งแรงทนต่อสภาพแวดล้อมในโครงการแล้ว ยังทำให้ลดการดูแลรักษาและช่วยประหยัดงบประมาณการดูแล และยังเป็นช่องทางในการสร้างงานและรายได้ให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย

การวางผังโครงการ มีแนวคิดในการรักษาสภาพภูมิประเทศเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด ลดปริมาณการขุดและถมดิน โดยหลักการวางอาคารจะวางอาคารส่วนกลางบนพื้นที่สูง เพื่อให้สามารถเปิดมุมมองได้อย่างเต็มที่ ส่วนอาคารห้องพักจะอยู่ในส่วนที่เป็นพื้นที่ราบ ซึ่งการจัดวางอาคารคำนึงถึงมุมมองของทุกห้องพักให้สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้ชัดเจน จึงใช้การจัดวางอาคารเป็นสามระยะ จากทางหน้าหาดเข้าไปด้านในโครงการโดยไล่ระดับความสูง อาคาร 1 ชั้น อยู่ด้านหน้าใกล้ชายหาด อาคาร 2 ชั้นและ 3 ชั้นอยู่ถัดไปตามลำดับ โดยห้องพักจะอยู่ส่วนบนสุดของอาคารเท่านั้น ส่วนใต้ถุนอาคาร นำมาใช้ประโยชน์สำหรับในส่วนของงานระบบ ติดตั้งอุปกรณ์ ถังเก็บน้ำ และ ส่วนบริการต่างๆของโครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้พื้นที่อย่างสูงสุด

การออกแบบยังคำนึงถึงเรื่องการบริหารและจัดการน้ำในโครงการ เนื่องจากโครงการมีความต้องการในการใช้น้ำค่อนข้างมากและบริเวณพื้นที่โดยรอบโครงการไม่มีระบบน้ำประปาสาธารณะและไม่มีแหล่งน้ำสะอาดที่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องจัดหาน้ำใช้ในโครงการและลดการซื้อน้ำ การออกแบบจึงคำนึงถึงพื้นที่ที่ช่วยกรองและกักเก็บน้ำฝนโดยจัดให้มี ลำรางที่ปกคลุมด้วยวัสดุพืชพรรณ (Bio swale) ซึ่งมีหน้าที่เก็บรวบรวมน้ำผิวดินในบริเวณพื้นที่ว่างระหว่างอาคารทั้งหมด ลำรางจะรับน้ำจากน้ำฝนที่ไหลตามผิวดิน น้ำจากหลังคาจะถูกปล่อยลงในบริเวณนี้เช่นกัน น้ำจะผ่านการกรองเบื้องต้นจากพืชพรรณที่ปลูกปกคลุมหน้าดินไว้ บางส่วนจะซึมลงดินเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้กับระบบน้ำใต้ดิน  ส่วนที่เหลือรวบรวมไปยังบ่อเก็บน้ำขนาดเล็กด้านทิศหนือและผันมาเก็บกักที่บ่อขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ของโครงการ น้ำในบ่อจะถูกนำไปบำบัดและนำกลับมาใช้อุปโภค และ รดน้ำต้นไม้ เพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนดินที่ได้จากการขุดบ่อ นำมาปรับระดับพื้นที่เพื่อให้น้ำในลำรางสามารถไหลตามแรงโน้มถ่วงได้

การเลือกใช้วัสดุสำหรับพื้นดาดแข็ง เลือกใช้วัสดุสีอ่อนและวัสดุที่มีรูพรุนยอมให้น้ำผ่านได้ เพื่อให้ช่วยลดการดูดซับความร้อนจากแสงและซึมซับน้ำฝน รวมถึงปลูกต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้ร่มเงา การทำหลังคาสีเขียว และปลูกไม้เลื้อยปกคลุมผนังอาคาร เพื่อให้ตัวอาคารกลมกลืนไปกับธรรมชาติ และยังช่วยลดปรากฎการณ์เกาะความร้อนและป้องกันการสะสมความร้อนในตัวอาคาร เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่งด้วย  นอกจากนี้ยังใช้วัสดุดเหลือใช้ที่เกิดจากการก่อสร้าง เช่นเสาเข็มที่ถูกตัด เศษพื้นสำเร็จ เพื่อลดจำนวนขยะจากการก่อสร้างและใช้วัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้วัสดุพืชพรรณ และการจัดองค์ประกอบของพรรณไม้เน้นไปที่การปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อสร้างร่มเงา และการใช้พรรณไม้พื้นถิ่น โดยพยายามปลูกต้นไม้ให้กลับฟื้นคืนสภาพตามธรรมชาติให้ได้มากที่สุดและให้สามารถอยู่ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนและสวยงาม พัฒนาเป็นระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์  ทำให้เกิดเป็นแหล่งพึ่งพิงของพืชและสัตว์พื้นถิ่นที่กลับเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ เช่น นก และ แมลงต่างๆ 

โครงการ โรสวูด ภูเก็ต จึงเป็นโครงการที่ผสานศาสตร์หลายๆด้าน อีกทั้งยังสอดคล้องกับการใช้งานและความสวยงาม เพื่อการฟื้นคืนของธรรมชาติที่อยู่ร่วมกับการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน