Landscape Studio by ARSOMSILP

Tha Chalom Community Park

Community Service | Workshop: Honor Award

“There are plenty of valuable and diverse landscape architecture essences which added the cultural dimension to the project. The vernacular architecture is well preserved as well as the old prison identity. The urban green space was added and connected the fragmented green area with the visual axis.”

2019 AWARDS JURY

Project Summary :

Community participation is an opportunity to design public spaces play a vital role in the social and economic life of communities. When we find and respond to the need to use the space properly. We can create value for the community in a real and sustainable way which can be an important social resource.

Design Process

Since the municipal office intended to develop the former area which was the park of this public health center in order to provide the quality outdoor workout space for the community, the design process has started from; the field survey to explore the project area and arrange an open stage, brainstorming to determine activities and programs for design needs. After that, the designer brought back the results from the first open stage to the community and arranged the open forum again. Both workshops were arranged for the discuss activities aimed to exchange various ideas such as the presentation of the goals and values of the project, the exhibition illustrated the perspectives of renovation, Sub-group activities & discussions, and Including reflections in the big stage. As a result, designers are aware of a variety and useful activities such as exercise, leisure, trade, youth activities, and social activities. It identifies the location of the activities and also the

Design Concept “Tha Chalom courtyard for all ages”

Design Goal : Tha Chalom community park, as a park with 2.5 Rai (4,000 SQM) area,

Community Park consists of.

- Family space for 3 generations

- Activity space for community recreation

- Exercising space for all ages

- Space of Pride and Strengthening Wisdom

Design Challenge

-Space design within limited area only 2.5 Rai (4,000 SQM) for all ages, i.e., child, teenager, middle age, senior

-Limited space design, only 2.5 Rai (4,000 SQM), for 4 main activities; Children activity, Tourism activity, Physical activity and 30 more sub-activities

-Governmental space design; public health center integrated with public park

-Low maintenance space design while keeping all big trees

-Space design that represents tradition and culture

-Space design that reminds of the previous building

Design Strategies

-Low budget

-Low maintenance

-High efficiency area

-Change the image of the area, encourage people with the creativity space


PROJECT TITLE : Tha Chalom Community Park
Location : Tha Salom, Muang Samut Sakhon, Samut Sakhon
LANDSCAPE ARCHITECT : Landscape Studio by ARSOMSILP
Lead Designer : Landscape Studio by ARSOMSILP
Client/Owner : Samutsakorn Municipality
Other Participants : Thai Health Promotion Foundation/Arsomsilp Community and Environmental Architect Co.,Ltd.
หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน :  
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) 
สถาปนิก : บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม  อาศรมศิลป์ จำกัด 

ลักษณะโครงการ :

ลานกีฬาและวัฒนธรรมชุมชน-สำหรับประเภท Community Service/Workshop

แนวคิดหลักของโครงการ :

“ลานบ้านท่าฉลอม เพื่อคนทุกวัย”

- พื้นที่ของครอบครัว คนสามวัย

- พื้นที่กิจกรรม พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวชุมชน

- พื้นที่ออกกำลังกาย ของคนทุกวัย

- พื้นที่แห่งความภาคภูมิใจและเสริมสร้างภูมิปัญญา

เป็นการออกแบบพื้นที่ของชุมชน.... โดยชาวชุมชน......เพื่อชาวชุมชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ การคิดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ในการพัฒนารวมถึงแนวความคิดและรายละเอียดในการออกแบบ การมีส่วนร่วมในระหว่างการก่อสร้าง จนโครงการแล้วเสร็จเพื่อเป็นพื้นที่การใช้สอยร่วมกันให้กับชาวชุมชนอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ ความเป็นเจ้าของ รักและหวงแหนพื้นที่ชุมชนร่วมกัน “ทำให้ลานบ้านท่าฉลอม” เป็นสวนสาธารณะของชาวท่าฉลอม ทุกเพศ ทุกวัย อย่างแท้จริง

รายละเอียดโครงการ :

พื้นที่โครงการขนาด 2.5 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณสถานีอนามัย ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายของชาวชุมชน แต่สภาพปัจจุบันความต้องการออกำลังกายมีมากขึ้น ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ทำให้เทศบาลจึงต้องการพัฒนาพื้นที่นี้เพื่อให้ชาวชุมชนได้มีที่ออกกำลังกายที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย รวมทั้งเป็นพื้นที่ของชาวชุมชนในการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เป็นศูนย์รวมของชาวชุมชน เพื่อสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง

การออกแบบแบ่งแป็น 2 ส่วน คือ การออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วม และการออกแบบรายละเอียดโครงการ

ขั้นตอนการออกแบบจึงเริ่มจาก “การออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วม”

เริ่มตั้งแต่การลงพื้นที่เพื่อสำรวจพื้นที่โครงการ เปิดเวทีระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดกิจกรรมและโปรแกรมความต้องการในการออกแบบ หลังจากนั้นผู้ออกแบบได้นำแบบกลับไปยังชุมชนเพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งแบบจัดทำขึ้นจากผลการจัดเวทีระดมความคิดเห็นครั้งแรก การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการทั้งสองครั้ง ได้มีการจัดกิจกรรม พูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลาย เช่น การนำเสนอเป้าหมายและคุณค่าของโครงการ นิทรรศการแสดงแบบทัศนียภาพการปรับปรุงโครงการ กิจกรรมและการพูดคุยกลุ่มย่อย รวมถึงการสะท้อนความคิดเห็นในเวทีใหญ่ ซึ่งผลการดำเนินการ ทำให้ผู้ออกแบบทราบถึงกิจกรรมการใช้งานที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ ทั้งในด้านกิจกรรมการออกกำลังกาย การพักผ่อน กิจกรรมเยาวชน รวมถึงกิจกรรมทางสังคม พื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรม โดยมีการระบุตำแหน่งที่ตั้งของกิจกรรมต่างๆ รวมถึงปัญหาและข้อกังวลของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม การจัดกระบวนการมีส่วนร่วมดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เกิดความสามัคคีและเข้มแข็งของในชุมชน ทั้งยังทำให้การออกแบบโครงการ เกิดจากการออกแบบโดยชุมชนอย่างแท้จริง

นอกจากนี้กระบวนการมีส่วนร่วมไม่ได้จบที่กระบวนการออกแบบ แต่ยังคงเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนในกิจกรรมระหว่างการก่อสร้าง เช่น การทาสี การปลูกต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นความต้องการของชุมชนที่ได้ออกแบบร่วมกันไว้ และในอนาคตเมื่อโครงการแล้วเสร็จ กระบวนการมีส่วนร่วมนี้ ยังรวมไปถึงการดูแล บำรุงรักษา ยังได้นำไปสู่ความรู้สึกรักและหวงแหน และเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน ทั้งนี้จากการริเริ่มจัดกระบวนการต่างๆ ส่งผลให้ชาวชุมชนโดยทั่วไปมีความสนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

โครงการลานบ้านท่าฉลอมนี้ จึงถือเป็นโครงการหนึ่ง ที่ทุกคนในชุมชนจะได้มีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการออกแบบ มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง เป็นผู้ใช้สอยและเป็นผู้ดูแลรักษา จึงเป็นโครงการที่มีคุณค่าและมูลค่าต่อชุมชนอย่างแท้จริง

การออกแบบรายละเอียดโครงการ

1.การออกแบบพื้นที่สำหรับคนหลายวัย ในพื้นที่ขนาดเล็ก เพียง2.5ไร่ คือ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยชรา เป็นต้น เช่น สนามเด็กเล่น ไต๋งน้อย , ลานเดินกะลา สำหรับผู้สูงอายุ , ทางวิ่ง ลานอ่านหนังสือ สำหรับวัยรุ่น เป็นต้น

2.ในพื้นที่ขนาดเล็ก เพียง2.5ไร่ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 4 แบบ คือ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมท่องเที่ยว กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมทางสังคม และ 30 กิจกรรมย่อย ตามความต้องการของชาวชุมชน

3.การออกแบบการผนวกพื้นที่ราชการคือ สถานีอนามัย กับพื้นที่สวนสาธารณะ เกิดการใช้งานที่บูรณาการ

4.เป็นการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ พื้นที่ทางราชการ ผนวกกับพื้นที่สวนสาธารณะของชุมชน เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

5.การออกแบบพื้นที่ด้วยการประหยัดงบประมาณ การบำรุงรักษาที่ไม่ยุ่งยาก การใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างเดิม เช่น แนวทางเดิน แนวสนามเด็กเล่นเดิม โครงสร้างถังน้ำประปา เป็นการออกแบบเพื่อต่อยอดจากสิ่งที่มี เป็นตัวอย่างของความประหยัด ให้กับชุมชนอื่นๆ

6.การออกแบบที่เก็บต้นไม้ในพื้นที่เดิมไว้ทุกต้น รวมทั้งปลูกเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสีเขียว เพิ่มปอดให้กับชาวชุมชนท่าฉลอม

7.การออกแบบพื้นที่ที่สื่อถึง ประเพณี และวัฒนธรรม เน้นการเก็บรักษาภูมิปัญญาเรื่องเรือท่าฉลอม ทั้งยังทำให้คนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจ ด้วยการออกแบบ ลานไต้ก๋งน้อย : สนามเด็กเล่นที่เน้นการสอนเรื่องการผูกเชือกแบบชาวเรือ , ห้องสมุดเก๋งเรือ : ห้องสมุดที่เกาะติดไปกับโครงสร้างที่เก็บน้ำประปาเดิม เป็นการจำลองรูปแบบมาจากเก๋งเรือ เป็นต้น

8.การออกแบบเปิดทางเข้าออกเพิ่มอีก1 จุด เพื่อทำให้พื้นที่ทั้งหมดของสวนแห่งนี้ไม่มีจุดอับ ทำหน้าที่เป็นหน้าบ้านในทุกๆพื้นที่ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงสวนแห่งนี้ เพื่อรองรับผู้ใช้งานที่มากขึ้น

9.การออกแบบพื้นที่ ลานต่างๆที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน เช่น ลาน อเนกประสงค์ ลานโป๊ะยก ลานทำการบ้าน ลานกิจกรรม เป็นต้น ลานบริเวณนี้ทั้งหมด สามารถเชื่อมต่อกันได้ และรองรับจำนวนคนได้ในปริมาณมากเมื่อมีงานเทศกาลต่างๆ นอกจากนี้ยังมี ลานกีฬาไทย และลานโพงพาง ที่สามารถเชื่อมต่อเป็นลานเดียวกันได้

Tala Membership

REGISTER