เซฟโซน เชลเตอร์
Landscape Art/ Exhibition: Excellent Award
“This temporary compact exhibition was designed with varieties of activities and interesting elements. Therefore, the work attracted people to interact with its spaces impressively.”
2021 AWARDS JURY
Project Summary :
Situated in front of the Grand Postal Building during Bangkok Design Week 2020, Safezone Shelter is an ephemeral intervention, aiming to purify air and provide comfort for people, while also raising awareness about “air pollution,” which becomes a critical concern for many societies. Inspired by “cloud,” the pavilion was designed in a futuristic organic form, depicting a clean refreshing atmosphere, while also forming a pleasant Microclimate by equipping vegetation and engineering technology together.
ชื่อโครงการ : เซฟโซน เชลเตอร์
สถานที่ตั้ง : ลานหน้าไปรษณีย์กลางบางรัก
ชื่อผู้ส่งประกวด/บริษัท : บริษัท ฉมา จำกัด
หัวหน้าโครงการ : ยศพล บุญสม
Landscape Architect of Record : Katavet Sittikit, Phat Chapanon, Thita Cherdkiadtikul, Rattapong Luangpiansamut, Chisanucha Ravinantapreecha, Nattapreeya Worawicharwong, Montrakarn Poonsang, Suphannipha Khamma, Montree Sommut, Onkamon Nilanon
Client/Owner : Creative Economy Agency (CEA)
Prime Contractor : D63
ผู้ก่อสร้างงานภูมิทัศน์ : M.J. Gardens Company Limited
Photography credit : Shma Company Limited
ลิขสิทธิ์ภาพ/ ช่างภาพ : บริษัท ฉมา จำกัด
หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน :
- Consultants: Asst. Prof. Dr.Prapat Pongkiatkul
- Sound Design: VWW
- Lighting Support: L&E
- Planting Support: Public Park Division, Department of Environment, BMA
วันที่เริ่มเปิดใช้งาน : กุมภาพันธ์ 2563
ลักษณะโครงการ :
Installation / Pavilion / Exhibition ชั่วคราว
แนวคิดหลักของโครงการ :
เซฟโซน เชลเตอร์ เป็นโปรเจ็คต์ที่ได้ไอเดียมาจากสภาพมลพิษในเมืองหลวงที่ย่ำแย่ลง โดยสร้างเป็นแนวทางการสะท้อนปัญหา รวมถึง Raise Awareness ให้ผู้พบเห็นได้นึกถึงปัญหาและกระตุ้นให้เกิดความรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยตัวโปรเจ็คต์มีลักษณะเป็นพาวิเลียนสีขาว ซึ่งด้านในเต็มไปด้วยต้นไม้ เปรียบเสมือนเป็นหลุมหลบภัยจากมลพิษภายนอก เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ โดยไม่เพียงแต่สร้างเพื่อให้ผู้คนได้ลองสัมผัสบรรยากาศความต่าง แต่ยังมีการวัดค่ามลภาวะในอากาศจริงๆ เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงและเปรียบเทียบบรรยากาศภายในและนอกพาวิเลียน โดยข้อมูลเหล่านี้ จะสามารถนำไปปรับใช้กับโครงการอื่นๆได้อีกด้วย
รายละเอียดโครงการ :
ปัญหามลภาวะทางอากาศนับว่าเป็นสถานการณ์อันท้าทายและเร่งด่วนที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ พฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์มลภาวะทางอากาศรุนแรงยิ่งขึ้น (WHO, 2017) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฝุ่นละอองและไอสารเคมีในอากาศ อันเกิดจากกระบวนการผลิตและการใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จากข้อมูลของ The World Air Quality Index ในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนวันถึงร้อยละ 54 ที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ มีปริมาณสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ WHO แนะนำ กว่า 1 ใน 3 ของคนกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ตั้งแต่อาการระคายเคืองทางผิวหนัง โรคหัวใจไปจนถึงมะเร็งปอด (BLT, 2018; The World Air Quality Index, 2020; WHO, 2017)
ไม่เพียงเท่านั้น ปัญหาเรื่องความร้อนเมืองที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิต จากงานวิจัยเรื่องอุณหภูมิเมือง พบว่าในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2543 – 2558 อุณหภูมิช่วงกลางวันของกรุงเทพฯ สูงกว่าจังหวัดข้างเคียง 1 – 2 องศาเซลเซียส อันเนื่องมาจากลักษณะทางกายภาพของเมืองที่เป็นพื้นที่ดาดแข็งสามารถดูดซับความร้อนได้เป็นเวลานาน และรายล้อมไปด้วยอาคารสูงจึงระบายความร้อนได้ช้า ก่อให้เกิดปรากฎการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island) (Pakarnseree, Chunkao, & Bualert, 2018) ประกอบกับพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการช่วยลดอุณหภูมิพื้นผิวของเมือง ก็มีปริมาณไม่เพียงพอ (WHO, 2010)
ประเด็นปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ ไม่เอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมได้ จึงนำมาสู่คำถามที่ว่าในอนาคตข้างหน้าเราจะอยู่อาศัยกันอย่างไรภายใต้สถานการณ์นี้
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัท ฉมา จำกัด เห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตในเมืองอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของ องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nation (UN) ร่วมกันออกแบบพื้นที่เชิงทดลองโดยประยุกต์ใช้พืชพรรณและเทคโนโลยีในการสร้างสภาพอากาศที่ดี เป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ หรือ Safe zone shelter ในงาน Bangkok Design week 2020 ณ บริเวณลานหน้าอาคารไปรษณีย์กลาง เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสภาพอากาศที่เหมาะสมในการอยู่อาศัย
หลักการในการออกแบบ
พาวิเลียนหลุมหลบภัยทางอากาศถูกออกแบบให้มีความโดดเด่นและดึงดูด โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากก้อนเมฆ เพื่อสร้างให้เกิดจินตภาพของความโปร่ง สบาย บริสุทธิ์ สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของสภาวะแวดล้อม (Microclimate) โดยให้ความสำคัญใน 2 ประเด็น คือ คุณภาพของอากาศและคุณภาพของพื้นที่ หลักการดังกล่าวได้พัฒนาเป็นแนวคิดในการจำลองพื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม คำนึงถึงการออกแบบที่สร้างประสบการณ์การรับรู้โดยใช้พื้นที่สีเขียว เทคโนโลยีและกิจกรรมเป็นเครื่องมือ
การควบคุมคุณภาพอากาศ ปริมาตรอากาศเป็นปัจจัยที่ต้องควบคุมเพื่อกักเก็บอากาศที่คุณภาพเหมาะสมไว้ภายใน อากาศภายนอกจะไหลผ่านส่วนกรองอากาศที่ประกอบไปด้วย พืชพรรณที่มีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นด้วยคุณสมบัติของผิวใบ ระดับความสูงของพืชพรรณที่แตกต่างกัน และระบบวิศกรรม โดยการใช้ระบบลมดูดผ่านแผ่นกรองอากาศ ก่อนส่งผ่านอากาศเข้าสู่ส่วนอยู่อาศัยที่รายล้อมไปด้วยพืชพรรณมีคุณสมบัติในการดูดซับสารเคมีประเภทไอระเหย (กัญญา ม่วงแก้ว, 2559)
อุณหภูมิในพาวิเลียนถูกปรับให้เหมาะสมในการอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองร้อน ที่ 22 – 29 องศาเซลเซียส (ภัทรนันท์ ทักขนนท์, 2547) จากการใช้พัดลมเพื่อระบายความร้อนและสร้างการไหลเวียนของอากาศภายใน แสงสว่างที่ส่องผ่านเนื้อผ้าที่นำมาคลุมพาวิเลียนช่วยในการกระจายแสงให้เกิดความฟุ้งลดการจ้าของแสง ระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่พอเหมาะสำหรับเมืองร้อน ที่ ร้อยละ 50 – 70 ถูกควบคุมโดยการใช้เครื่องพ่นละอองน้ำเป็นระยะ นอกจากนี้ยังมีการใช้กลิ่นจากพืชพรรณในการสร้างประสบการณ์ และการเรียบเรียงเสียงจำลองบรรยากาศและปรากฎการณ์ธรรมชาติให้ส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ใช้งาน
พื้นที่ทดลองนี้นับว่าเป็นการริเริ่มให้มีการนำพืชพรรณและเทคโนโลยีมาผสมผสานเพื่อเสริมข้อดีและลดทอนข้อบกพร่องของกันและกัน เพื่อต่อยอดไปสู่แนวทางการสร้างสภาพอากาศที่ดีในอนาคต การจัดการสภาพอากาศในเมืองสามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชพรรณในบริเวณบ้าน ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว ในระดับเมือง การเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียวในเมืองเป็นการส่งเสริมสภาพอากาศที่ดีในการอยู่อาศัยเป็นหนึ่งในการวางรากฐานคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เพื่อให้สภาพอากาศที่ดีเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้และเป็นของทุกคนอย่างแท้จริง
สรุปผล
ในช่วงระยะเวลาการใช้งานพาวิเลียน ได้ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพอากาศภายนอกและภายในพาวิเลียน พบว่าภายในพาวิเลียนอุณหภูมิต่ำกว่าภายนอก 3.16 องศาเซลเซียส ระดับความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูงกว่าภายนอก 8.1 มีค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ลดลงร้อยละ 8.48 มีปริมาณค่าเฉลี่ยนฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ลดลงร้อยละ 8.6 ดังตารางที่ 1
จากการสำรวจความพึงพอใจในการใช้งาน พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่รู้สึกเย็นและชื่นชอบความเขียวของต้นไม้ภายในพาวิเลียนและต้องการให้นำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่สาธารณะทั่วไป