บริษัท พี.แอล.ดีไซน์ จำกัด

สวนสัตว์แห่งใหม่

Master Planning: Honor Award

The design of this zoo has been thought thoroughly through the zoo design principles that contemplated with educating people through the landscape as well as solving unavoidable and crucial problems of the site, especially stormwater management system, flood protection, and water detention.”

2021 AWARDS JURY

Project Summary :

Master planning for Thailand’s new National Zoo was a collaboration of experts including landscape architects, architects, urban planners, engineers, exhibition designers, veterinarians, zookeepers and the Zoological Park Organization of Thailand. Together the team researched and developed a concept, design program and master plan for an innovative zoological and ecological learning center to be located in Pathum Thani on the outskirts of Bangkok. Key objectives to provide for were conservation of rare and endangered species; research in breeding endangered species to promote biodiversity; creation of a learning center for wildlife conservation; and to build a recreational facility for the general public.

The main concept was to recreate the ecosystem of the locale from the past for future generations to enjoy using world-class zoo standards. By representing the ecosystem specific to the location, a zoo would be developed with a unique character that is distinctive amongst other world-class zoos and new and fun for visitors.

The new zoo located in the alluvial planes of the Chao Phraya River was therefore developed with the concept of reawakening the ‘Flood Meadow Wetland’ or ‘Thung Luang Rangsit’: re-creation of the rich and abundant ecosystem and tropical ecology of the historical Flood Meadow of the locale, where visitors will experience how animals and humans can live together with water in a sustainable way.

Twelve zones are separated by water into 2 sides: local Asian and other continents (Australia, Africa, Sth America), with the centerpiece being the historical Flood Meadow Wetland. Animals represented are those found in these or similar latitudes. Planting, topography and water used to create ecological landscapes that radiate out from Flood Meadow at the heart of the Zoo.

ชื่อโครงการ : สวนสัตว์แห่งใหม่ 
สถานที่ตั้ง : คลอง 6 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้ส่งประกวด/บริษัท : บริษัท พี.แอล.ดีไซน์ จำกัด
ภูมิสถาปนิกโครงการ :  วีระพันธ์ ไพศาลนันท์    ชณิภัฏ ชวนานนท์ 
ผู้ว่าจ้าง / เจ้าของโครงการ : องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน : 
บริษัทที่ปรึกษา APP CONSORTIUM ซึ่งเป็นคู่สัญญาโครงการประกอบด้วย 
- บริษัท เอ ซี เอส อินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลแตนทส์ จำกัด
- บริษัท เออาร์เจ สตูดิโอ จำกัด 
- บริษัท พี.แอล.ดีไซน์ จำกัด
- บริษัท พิพิธพล จำกัด 

ปรึกษาทางด้านวนศาสตร์และพืชพรรณ 
- ประสิทธิ์ มากสิน 

ลักษณะโครงการ :

เป็นกระบวนการรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดแนวคิดหลัก พื้นที่ใช้สอย และวางผังแม่บทเบื้องต้นของโครงการ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบในขั้นต่อไป / Preliminary Master Plan & Design Guideline

แนวคิดหลักของโครงการ :

สวนสัตว์แห่งใหม่ ภายใต้แนวคิด “ชุบชีวิตทุ่งน้ำ - อัศจรรย์ใหม่แห่งนิเวศน์เขตร้อน FLOOD MEADOW REHABILITATION – AMAZING TROPICAL ECOLOGY” ตอบโจทย์ที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่

การเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และศาสตร์พระราชา โดยเฉพาะในด้าน ดิน น้ำ และป่า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เติมเต็มโครงข่ายย่านนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ปทุมธานีให้มีศาสตร์ที่ครบถ้วนรอบด้าน

การสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของภูมิประเทศ และเชื่อมโยงเข้ากับระบบนิเวศน์ดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่ราบดินตะกอนน้ำท่วมถึง มีลักษณะของพื้นที่ชุ่มน้ำกระจายอยู่ทั่วไป เป็นต้นทางห่วงโซ่อาหารที่สำคัญ เป็นแหล่งหากินของสัตว์หลากหลายชนิด รวมถึงสัตว์นักล่า

การเป็นหมุดหมายสำคัญของแผนที่สวนสัตว์ระดับโลก เป็นตัวแทนของระบบนิเวศน์แบบพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตร้อนชื้น นำเสนอภูมิลักษณ์ที่สำคัญซึ่งเป็นพื้นฐานทางด้านความอุดมสมบูรณ์ทางอาหารของประเทศไทยออกสู่เครือข่ายการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสวนสัตว์ทั่วโลก

รายละเอียดโครงการ :

1. ยุทธศาสตร์ขององค์การสวนสัตว์ ในการออกแบบ จะต้องตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การดำเนินงานขององค์การสวนสัตว์ให้ครอบคลุมใน 4 มิติ ได้แก่ การอนุรักษ์ขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ การวิจัยเพื่อขยายพันธุ์สัตว์ป่านอกถิ่นอาศัยเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ การเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ และการเป็นแหล่งนันทนาการที่เข้าถึงได้สำหรับคนทั่วไป

2. พื้นที่โครงการ ขนาด 300 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ซอยคลอง 6 ฝั่งทิศใต้ของถนนรังสิต-นครนายก แปลงที่ดินเป็นแนวยาวทิศเหนือ-ใต้ ความยาว 1,400 ม. ความกว้าง 470 – 650 ม. เป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในแนวน้ำท่วมถึง ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1.00-1.50 ม. ปัจจุบันใช้ในการทำการเกษตร ทำนาและสวนผลไม้ ไม่มีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลักษณะดินเป็นดินเหนียวตะกอนน้ำกร่อย อุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง เป็นกรดรุนแรงมาก (PH 3.5-4.5) ถึงกรดจัดมาก (PH 4.6-5.0) จะต้องทำการปรับสภาพทางเคมีของดินก่อนปลูกต้นไม้

3. ผู้ใช้หลักและความต้องการ ได้แก่ สัตว์-การออกแบบตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ สัตว์-ผู้ดูแล-ผู้ชม ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน ผังแม่บทนี้ จะให้ความสำคัญในการสร้างความสมดุลพื้นที่ใช้งานของผู้ใช้ทั้ง 3 กลุ่มเพื่อให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อการดำเนินงานที่ยั่งยืนของสวนสัตว์

4. เป้าหมายผู้ชม ตั้งเป้าสูงสุด 2.5 ล้านคน/ปี ภายใน 7 ปี (หลังเปิดให้บริการ) มีทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และนักวิจัย โดยเป็นผู้ใช้งานในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 7,000 คน และวันหยุด 8,800 - 16,000คน ดังนั้น ในการออกแบบ จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการบริหารทรัพยากรโครงการ ให้เหมาะแก่ความหนาแน่นในการใช้งานที่แตกต่างกัน

5. สัดส่วนการใช้ที่ดิน แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ส่วนพื้นที่จัดแสดง 50% ของพื้นที่ พื้นที่ป้องกันน้ำท่วม ส่วนบริหารและวิจัย พื้นที่จอดรถและการสัญจร สวนเฉลิมพระเกียรติ พื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่เชิงพาณิชย์ จะมีสัดส่วนการใช้งานที่ลดหลั่นกันลงมา

6. การออกแบบโปรแกรมของส่วนจัดแสดงสัตว์ จะมี 2 ขั้นตอนด้วยกัน ขั้นแรกคือการแยกโซนนิ่งตามทวีป ต่อมาคือการกำหนดถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมลงในโซนทวีปนั้นๆ

โซนนิ่งหลักของทวีป อ้างอิงตำแหน่งและความสัมพันธ์จากแผนที่โลกในยุคโบราณ ที่มีเพียบทวีปเดียว คือมหาทวีปแพนเจีย ก่อนที่จะเริ่มแยกตัวออกจากกันมีมหาสมุทรคั่นแบ่งระหว่างทวีปต่าง ๆ ดังที่เห็นในปัจจุบัน จึงนำแนวคิดนี้มาใช้เป็นการวางโครง เพื่อสื่อถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ ที่เริ่มต้นมาจากจุดเดียวกัน และกระจายออกและมีวิวัฒนาการเป็นของตนเอง ซึ่งในการวางโซนนิ่งลักษณะนี้ จะมีความสอดคล้องกับการบริหารจัดการของสวนสัตว์ ที่จำเป็นจะต้องแยกสัตว์ที่มาจากต่างทวีปออกจากกัน เนื่องจากความต้านทานโรคของสัตว์ที่มาจากทวีปต่างๆ นั้น มีความแตกต่างกัน

การกำหนดถิ่นที่อยู่อาศัย ทำควบคู่ไปกับการจัดเตรียม animal collection โดยคัดเลือกสายพันธุ์ที่สามารถจัดแสดงในสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น (Tropical Zone) อย่างประเทศไทยได้ เพื่อให้สัตว์สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมแบบเปิด (ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น) โดยได้ทำการคัดเลือกถิ่นที่อยู่ในการจัดแสดงจากแต่ละทวีปดังนี้

เอเชีย ถิ่นที่อยู่ได้แก่ ทุ่งน้ำ ป่าเบญจพรรณต่อทุ่ง ป่าดิบแล้ง โขดหิน

อาฟริกา ถิ่นที่อยู่ได้แก่ ทุ่งน้ำอาฟริกา ป่าดิบอาฟริกา ทุ่งสะวันนา

ออสเตรเลีย ถิ่นที่อยู่ได้แก่ ป่าเขตร้อนออสเตรเลีย

อเมริกาใต้ ถิ่นที่อยู่ได้แก่ ป่าดิบลุ่มน้ำอเมซอน ป่าต่อทุ่ง ทุ่งเนินเขา

การตลาดและการสร้าง BRAND เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเล่าเรื่องราวของส่วนจัดแสดงต่างๆ ได้แก่ ห้าผู้พิทักษ์ จะเป็นสัตว์สายพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่สำคัญขององค์การสวนสัตว์ฯ ได้แก่ ช้างไทย เสือลายเมฆ ละมั่งสยาม นกกระเรียนไทย และค่างห้าสี และสามสหาย ซึ่งเป็นสัตว์หายากจากต่างทวีป ได้แก่ โอกาพี เต่าอัลดราบร้า และลิงโคโลบัส

7. เส้นทางการสัญจรและการจัดวาง INDOOR EXHIBITION NODE เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้นของพื้นที่โครงการ ดังนั้นจึงกำหนดให้มี INDOOR EXHIBITION NODE ที่มีเรื่องราวสอดคล้องกับแนวคิดหลัก และถิ่นที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ โดยเชื่อมส่วนจัดแสดงทั้งหมดเข้าด้วยกันด้วยรถรางเบา ด้านล่างเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม โดยแบ่งออกเป็น 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ เส้นทางห้าผู้พิทักษ์ ชมสัตว์ในทวีป เส้นทาง 3 สหาย ชมสัตว์ต่างทวีป และเส้นทางพิเศษ เพื่อนำชมส่วนอนุรักษ์วิจัย และส่วนหลังบ้านเพื่อชมการทำงานของ zoo keeper โดยแต่ละเส้นทางระยะทางไม่เกิน 1.5 กม (เดินชม 2 ชม) ซึ่งขบวนรถจะกลับมาเปลี่ยนถ่ายที่สถานีกลางที่อยู่ติดกับส่วนร้านค้า-ร้านอาหาร ซึ่งระบบนี้ จะทำให้ผู้ชมสามารถหมุนเวียนเข้าออกในส่วนร้านอาหารและเข้ารับบริการต่างๆ ได้ตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ในส่วนของร้านค้า-ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้ดีขึ้น

8.การบริหารจัดการน้ำท่าและน้ำฝนภายในโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

น้ำส่วนที่ผ่านเปลือกอาคาร ถนนและลานจอดรถ จะผ่านเข้าแนวบำบัดและตกตะกอนโลหะหนักด้วยวิธีธรรมชาติ (WETLAND NATURAL FILTRATION) ก่อนที่จะปล่อยเข้าบ่อหน่วงน้ำหลักของโครงการ

น้ำส่วนอื่นๆ ที่ไม่ผ่านการสัมผัสกับสัตว์ จะใช้ระบบรางระบายน้ำแบบเปิด ร่วมกับระบบท่อระบายน้ำใต้ดิน (sub drainage) รวบรวมแล้วเก็บเข้าสู่บ่อหน่วงน้ำหลักของโครงการ

น้ำส่วนที่ผ่านการสัมผัสกับสัตว์ จะต้องเก็บเข้าระบบเพื่อทำการบำบัด ก่อนนำเข้าระบบ RECYCLE เพื่อใช้ใหม่

9. การเลือกใช้พรรณไม้ กำหนดให้ใช้ไม้พื้นถิ่นของไทย โดยเฉพาะพื้นถิ่นลุ่มน้ำภาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการ และไม้พื้นถิ่นไทยในบางภูมิภาค โดยปรับสภาพแวดล้อมให้คล้ายสังคมพืชเดิม และปรับสภาพแวดล้อมตามความสัมพันธ์ในระบบนิเวศของสัตว์กับสังคมพืช โดยเน้นให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ