March 14, 2022

การป้องกันน้ำท่วม..

ประสบการณ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์

Project name : Research

Design by :  รศ.ดร.อริยา อรุณินท์  ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
          ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือที่เรียกกันว่า “ฮอลแลนด์” หรือ “ฮอลันดา” ในอดีตนั้นมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเลและเคยเป็นพื้นที่ทะเลมาก่อน อันเป็นที่มาของชื่อประเทศที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” + “land” หรือหมายถึง “แผ่นดินต่ำ” ด้วยสภาพพื้นที่ที่ต่ำนั้นเองทำให้ชาวเนเธอร์แลนด์หรือ “ชาวดัทซ์”ต้องต่อสู้กับอุทกภัยมาอย่างต่อเนื่อง ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายแขนงมีกำเนิดจากประเทศนี้ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาวิจัยที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ได้แก่ UNESCO-IHE (Institute for Water Education) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเดลท์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 เป็นสถาบันที่เปิดการสอนด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulic Engineering) เป็นแห่งแรกของโลกที่มีศิษย์เก่าเป็นเครือข่ายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
นอกจากนั้นการศึกษาของประเทศเนเธอร์แลนด์มีรูปแบบการแบ่งสาขาวิชาและระดับสถาบันการศึกษาแตกต่างจากในประเทศอื่นๆโดยเน้นเชิงปัญหา (Problem Based) ซึ่งคณะหรือสาขาวิชาจะตั้งชื่อปริญญาหรือประกาศนียบัตรตามหลักสูตรย่อยๆเฉพาะเจาะจงอย่างน่าสนใจ และจากการศึกษาดูงานด้านภูมิสถาปัตยกรรม การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่าสภาพพื้นที่และปัญหาของทั้งประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศไทยมีความใกล้เคียงกัน แต่ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นได้ศึกษาและแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้หวังว่าจะเป็นกรณีศึกษาที่สามารถหยิบยืมมาปรับใช้กับประเทศเราได้บ้างไม่มากก็น้อย โดยในบทความได้เรียงลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้ 1) สภาพภูมิประเทศของประเทศเนเธอร์แลนด์ 2)การจัดรูปแบบองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3)โครงการ (Projects) ต่างๆด้านการบริหารจัดการน้ำ 4) บทสรุปสำหรับประเทศไทย
บทสรุปสำหรับประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ดินที่มีอย่างจำกัดการพัฒนาเมืองและการตั้งถิ่นฐานก็ตั้งอยู่และพึ่งพาชายน้ำมาแต่อดีต ชาวดัทช์ ได้เลือกแล้วว่าพวกเขาจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสายน้ำโดยไม่สามารถถอยร่นไปพื้นที่อื่นได้ เปรียบได้ใกล้เคียงกับชาวไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เราเลือกที่จะตั้งเมืองหลวงในลุ่มน้ำมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงกรุงเทพมหานครเช่นในปัจจุบัน บทเรียนจากกรณีศึกษาของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ผู้เขียนนำเสนอในครั้งนี้เพื่อที่จะบอกว่าการทำความเข้าใจกับธรรมชาติในการวางแผน การพัฒนานั้น สามารถอยู่ควบคู่ไปกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนได้ทั้งสองฝ่าย การวางแผนการพัฒนาพื้นที่จำเป็นต้องการหน่วยงานและบุคคลที่มีวิสัยทัศน์และองค์ความรู้ที่บูรณาการกันได้อย่างเป็นองค์รวม ไม่ว่าทางด้านการจราจรขนส่ง ธรรมชาติเศรษฐกิจ และการเกษตรกรรมรูปแบบการจัดองค์กรภายในกระทรวงที่รับผิดชอบเรื่องแผนพัฒนาเชิงพื้นที่และการบริหารจัดการน้ำควรอยู่ร่วมกัน และสามารถประสานกันสู่วัตถุประสงค์ร่วมกัน

Download :  บทความทั้งหมดได้ที่นี้

Tala Membership

REGISTER