บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด

โรงพยาบาลบางบัวทอง 2

Community Service/ Workshop: Honor Award

“Focusing on health and well-being encouragement, this community hospital has offered its open spaces to the locals. The uniqueness of the area and the wisdom related to water management have been combined in the design.”

2021 AWARDS JURY

Project Summary :

“HOuSePITAL provide a sense of being home

where every space support life and healing process

where every space as an outdoor classroom for community

where every space as a park for the city

where every space be a Bang Bua Thong’s culture

where every space belongs to Bang Bua Thong people”

Design strategies :

Strategy01 - The direction of development is to bring the local agricultural concept (ditch & dike) into the site

Strategy02 - The water management concept is to connect every area with a small canal from the rice field pattern and during the storm, lower areas could be flooded

Strategy03 - From a limited area and budget, all elements used must be low maintenance by balancing earthwork on site, choose the local therapeutic plants and local material.

Strategy04 - The participatory process lets the designers know what local people want, the problem of this area, and the opportunity by listening to them. The result form the process is a map with activities as locals needs location and then designers develop it to zoning map which the activities are located properly, some activities might be relocated because of site constrains but it still appear indoor or outdoor.

Strategy05 - The healing concept is divided into 5:

Nature healing - The use of local natural elements: evergreen tree, colored tree, a fragrant tree which help releasing stress and anxiety, and the pond and small canal create cool atmosphere while their running sound is calmful.

Friendship healing - Humans can release stress and anxiety by talking with each other. The outdoor space promotes group activity by having many pocket spaces.

Mind & Cognitive healing - In the hospital building, it has religious space already. The outdoor space, it has spiritual space also. The spirit house is located in the front part of the hospital where all people could approach comfortably.

Activity healing - The activity area in the hospital focuses on physical and mental relief. For physical relief, there are an exercise area, playground, sports area, and jogging track and for mental relief, there is a yoga terrace and herbs and vegetable plot for harvesting.

Architecture healing - The building with a homey scale creates the feeling of being home. Patients in the building take advantage of outdoor natural spaces. On the other hand, the buildings provide a good view from looking outside in by their green facade which is edible.

ชื่อโครงการ : โรงพยาบาลบางบัวทอง 2
สถานที่ตั้ง : ตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้ส่งประกวด/บริษัท : บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด
หัวหน้าโครงการ : ชัชนิล ซัง
ภูมิสถาปนิกโครงการ : ชัชนิล ซัง, พิมพ์พรรณ ทิพย์มงคล
ผู้ว่าจ้าง / เจ้าของโครงการ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ลักษณะโครงการ :

โรงพยาบาลชุมชน

แนวคิดหลักของโครงการ :

พื้นที่โรงพยาบาลบางบัวทองล้อมรอบไปด้วยพื้นที่เกษตรกรรม ในเขตจังหวัดนนทบุรี ซึ่งกำลังได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของเมือง ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมหลายส่วนได้กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น รวมทั้งโครงการนี้ยังมีเป้าหมายที่จะยกระดับโรงพยาบาลให้มีความเป็นสากล และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเยียวยารักษาแบบองค์รวมในทั้ง 5 ด้านได้แก่ ธรรมชาติบำบัด กิจกรรมบำบัด มิตรภาพบำบัด จิตวิญญาณบำบัด และสถาปัตยกรรมบำบัด บทบาทของโรงพยาบาลบางบัวทอง 2 ต่อพื้นที่โดยรอบจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนในชุมชนโดยรอบ เป็นห้องเรียนธรรมชาติให้กับนักเรียน และผู้ที่สนใจ เป็นพื้นที่ที่ช่วยรองรับน้ำให้กับเมือง และเป็นแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ ทำให้เกิดเป็นวัฏจักรธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน

รายละเอียดโครงการ :

พื้นที่โครงการตั้งอยู่ในตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นโรงพยาบาลระดับชุมชน ขนาด 30 เตียง บนพื้นที่ดิน 12 ไร่ โดยโครงการนี้ได้ใช้คำว่า HOuSePITAL เป็นแนวคิดหลักของโครงการ เพื่อให้ความรู้สึกของการมาโรงพยาบาล แตกต่างจากโรงพยาบาลแบบดั้งเดิม ผู้ป่วยจะรู้สึกราวกับว่าการมารักษายังที่แห่งนี้ ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป และไม่เพียงแต่เป็นโรงพยาบาลที่ช่วยในการรักษาผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเป็นโรงพยาบาลที่ช่วยในการรักษาเมืองเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเป็นโรงพยาบาลที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนโดยรอบ ให้มีพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรม พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ ผ่านการออกแบบผังแม่บทโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมร่วมกัน

Design strategies

1. มีการนำแนวคิดเกษตรร่องสวนซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โครงการ เป็นการส่งต่อและถ่ายทอดแนวคิดเกษตรกรรมของไทยให้กับคนรุ่นใหม่ได้ศึกษา ซึ่งเป็นการทำเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย

2. การออกแบบระบบน้ำ ให้มีพื้นที่ที่สามารถรองรับน้ำได้ในฤดูฝน เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมขังภายในพื้นที่และบริเวณโดยรอบ

3. ด้วยงบประมาณของโครงการที่มีจำกัด จึงจำเป็นต้องออกแบบให้ทุกส่วนของโครงการสามารถดูแลรักษาได้ง่าย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา โดยการใช้พืชพรรณพื้นถิ่น มีการคำนวณการใช้ดินด้วยการขุด-ถมดินในพื้นที่โครงการให้เหมาะสม และใช้วัสดุธรรมชาติของชุมชนที่สามารถหาได้ง่าย ดูแลรักษาง่าย

4. ออกแบบผังแม่บทร่วมกับคนในชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาความต้องการและข้อจำกัดผ่านผู้ใช้งาน รวมทั้งเป้นการเพิ่มโอกาสในการค้นหาศักยภาพในพื้นที่ ทำให้นำมาซึ่งผังความต้องการพื้นที่ของชุมชน อาทิ พื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ พื้นที่แปลงผัก พื้นที่ออกกำลังกาย การปรับปรุงภูมิทัศน์ การเพิ่มพื้นที่จอดรถให้เพียงพอกับผู้ใช้งาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อมูลในเชิงลึกที่ได้จากการลงไปพูดคุยกับผู้คนในชุมชน ซึ่งเมื่อได้ทราบข้อมูลและปัญหาที่แท้จริง ก็จะนำมาซึ่งการออกแบบเพื่อให้ตอบสนองกับผู้ใช้งานมากที่สุดได้

5. การออกแบบโรงพยาบาลที่รักษาคนไข้ผ่านการเยียวยาแบบองค์รวมทั้ง 5 ด้าน ได้แก่

พื้นที่ธรรมชาติบำบัด การเลือกใช้องค์ประกอบทางธรรมชาติมาช่วยในการบำบัด ทั้งคูน้ำ บึงน้ำ รวมไปถึงต้นไม้ที่มีสีเขียว ที่ให้สีสันสวยงาม และมีกลิ่นหอม เพื่อช่วยในการเยียวยารักษาให้เกิดความผ่อนคลาย ซึ่งแนวความคิดที่นำมาใช้ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการดูแลรักษาที่ง่ายและสะดวก

พื้นที่มิตรภาพบำบัด มนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการเข้าสังคมในบางครั้งจะสามารถช่วยบำบัดอาการเครียดหรือวิตกกังวลได้ การออกแบบพื้นที่ภายนอกโครงการ จึงสนับสนุนให้เกิดการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มผ่าน green pocket รวมไปถึงการออกแบบแปลงเกษตรในโครงการ เพื่อให้ผู้คนในโครงการสามารถมีส่วนร่วมในการผูกสัมพันธ์กับผู้คนได้

พื้นที่จิตบำบัด ศาสนาและความเชื่อของคนไทยนำมาซึ่งความสงบ และเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ผู้คน ภายในอาคารโรงพยาบาลจึงมีการออกแบบพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมทางศาสนา ส่วนพื้นที่ภายนอกอาคารนั้น จะมีการเตรียมพื้นที่ ที่เป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของคนในพื้นที่ และชุมชนโดยรอบได้แก่ศาลพระภูมิที่อยู่บริเวณทางเข้าโครงการ ให้ผู้คนสามารถเข้าถึงได้สะดวก

พื้นที่กิจกรรมบำบัด ภายในโครงการมุ่งเน้นไปที่การบำบัดทั้งทางกาย และทางอารมณ์ ประกอบด้วยพื้นที่สำหรับพัฒนาทางร่างกายเช่น พื้นที่ออกกำลังกาย และสนามเด็กเล่น รวมไปถึงกิจกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การใช้สมาธิและผ่อนคลายทางอารมณ์ เช่น โยคะ หรือการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร

สถาปัตยกรรมบำบัด อาคารภายในโรงพยาบาลเป็นอาคารที่มีขนาดไม่ใหญ่ ให้ความรู้สึกอบอุ่นเหมือนบ้าน โดยอาคารทุกหลังจะมีอย่างน้อยสองด้านที่ได้รับมุมมองที่สวยงามจากพื้นที่สีเขียว นอกจากพื้นที่ภายนอกจะเป็นมุมมองที่ดีและมีผลต่อผู้คนในอาคารที่จะได้รับการเยียวยาแล้ว ตัวอาคารยังเป็นส่วนที่ช่วยให้คนใช้งานพื้นที่โดยรอบได้รับมุมมองที่ดีจาก edible green facade ของตัวอาคารด้วยเช่นกัน

โรงพยาบาลบางบัวทอง 2 จะเป็นโรงพยาบาลที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าการช่วยรักษาผู้ป่วย แต่เป็นโรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นพื้นที่แห่งชีวิตที่อยู่ในใจของคนในชุมชนด้วยเช่นกัน