บริษัท ฉมา จํากัด

จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้

Residential Complex, Low-Rise: Excellent Award

“This project has notably paid attention to the concept of sustainable design. Thinking processes were systematically presented, and details in landscape design were carefully created responding to the project’s requirements.”

2021 AWARDS JURY

Project Summary:

Jin Wellbeing County is the first senior oriented mixed-use development in Thailand. Located in the Chao Phraya Flood Plain, the site of Jin Wellbeing County in Pathum Thani, the suburb of Bangkok, is previously known for agricultural lowland, which gets flooded seasonally. Nonetheless, as time passed by, the area gradually became urbanized by rows of buildings, housings, and infrastructure, leaving the possibility of severe flooding. Focusing on achieving the ‘Universal Design’, all programs are connected with an ‘All-ramp access,’ with handrails and no additional steps to accommodate seniors and handicaps. Based on the idea of ‘Sustainable Nature’, ‘Physical Wellbeing’, and ‘Sense of Community’, it responds to seniors’ needs, the concept ‘Retreat’, ‘Engage’, and ‘Create’ promote activity dynamics.

Based on the research of “The Seven Dimensions of Wellness,” it marks beneficial approaches for aging life, all aspects are embedded in the landscape design. Another key feature, “multi-generation living”, is where independent, family, and assisted living is united to build community spirit with activity dynamics. Space planning is designed to add a ‘chance of meeting,’ promoting cross activity interaction like exercising and enclaves of gathering spots along the creek. There are also private seating niches and outdoor tables among greenery, offering a sense of ‘retreat.’ Lastly, an edible garden allows us to ‘create’ dining and workshop together, leading to lifelong learning.

ชื่อโครงการ : จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้
สถานที่ตั้ง : รังสิต จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้ส่งประกวด : บริษัท ฉมา จํากัด
หัวหน้าโครงการ : ประพันธ์ นภาวงศ์ดี
ภูมิสถาปนิกโครงการ : นภจร ศรีฉัตรสุวรรณ, วรวีร์ แจ่มสมบูรณ์, ภาวิดา บัวเลิศ, พฤกษชล ชัชวาลชัยพรรณ, ฐิตา เชิดเกียรติกุล, ศุภิกา สุขแจ่มใส 
ผู้ว่าจ้าง / เจ้าของโครงการ : บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จํากัด
ผู้ก่อสร้างงานภูมิทัศน์ : บริษัท เอ็ม.เจ.การ์เด้น จํากัด
ลิขสิทธิ์ภาพ/ ช่างภาพ : พาโนรามิกสตูดิโอ, นภนต์ จตุรภุชพรพงศ์
หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน : 
Supaluk Paorik, Tanee Sawasdee (Horticulturist)
Thitiwat Chintanavitch (Construction Manager) 
Openbox Architects co., ltd. (Architecture)
Siam Multi Cons Co., Ltd. (Main Contractor)
วันที่เริ่มเปิดใช้งาน : 24 กุมภาพันธ์ 2563

ลักษณะโครงการ:

สวนบำบัด

แนวคิดหลักของโครงการ:

แนวความคิดในการออกแบบ “Community in the Ravine Forest

การออกแบบพื้นที่ส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน บ่มเพาะ (สร้างเสริม)ความเป็นชุมชน (Nurture Sense of community) เพราะเป็นหน่วยสำคัญของสังคม (ระบบมนุษยนิเวศ) รวมถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติจะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อจิตใจ / ความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ (Seamless Link with Nature) หลักการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Ecologically Sustainable Design)

รายละเอียดโครงการ:

พื้นที่โครงการของ Jin Wellbeing County ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ อาคารพักอาศัยความสูง 7 ชั้น Low-Rise Residential (Active Living) อาคารศูนย์สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ Aged Care และ Clubhouse โดยในส่วนงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม (ภูมิทัศน์) พื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคารถูกออกแบบเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เกิดแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยกิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวผู้สูงอายุและครอบครัว รวมถึงผู้สูงอายุด้วยกันเอง เช่น พื้นที่ระเบียงไม้ด้านหน้าของแต่ละอาคาร ออกแบบให้ผู้สูงอายุได้ออกมาพักผ่อน โดยจัดให้มีโต๊ะและที่นั่งไม้ที่เชื่อมต่อกับบริเวณเนิน เพื่อสัมผัสบรรยากาศท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้หลากชนิด  รวมถึงโต๊ะและที่นั่งแบบกลุ่ม ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการพบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน

ในแต่ละกลุ่มอาคารพักอาศัย จะประกอบด้วยอาคาร Community Center เป็นจุดรวมกิจกรรมอีกแห่งที่ตอบโจทย์ Lifestyle ของผู้สูงอายุในทุกด้าน พื้นที่ด้านนอกเป็นของส่วนของกิจกรรม Farming ที่ออกแบบให้มีแปลงปลูกผักสวนครัวทั้งบนดิน และบนโต๊ะเพื่อความสะดวกสำหรับผู้ที่นั่งรถเข็น โดยเอื้อให้ผู้สูงอายุได้ออกมาปลูกผักสวนครัว ได้ดูแลเองตั้งแต่ในขั้นตอนของการปลูกไปจนถึงการเก็บไปประกอบอาหาร สร้างให้เกิดงานอดิเรกในยามว่าง ในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ เช่น มีการจัด workshop สาธิตการปลูกผัก หรือการนำผักไปประกอบอาหาร สามารถใช้พื้นที่ของชุดโต๊ะเก้าอี้ไม้ในการจัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

รวมถึงส่วนสระว่ายน้ำ บริเวณด้านหน้าอาคาร มีความยาว 10-15 ม. เพื่อการออกกำลังกาย และพื้นที่ jacuzzi สำหรับ 5 คนโดยประมาณ โดยลักษณะของสระถูกออกแบบเป็นพิเศษ ลดเหลี่ยมมุมและเลือกใช้วัสดุที่ไร้รอยต่อ และป้องกันการลื่นล้ม เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

บริเวณริมทะเลสาบส่วนกลางเป็นจุดรวมพื้นที่ออกกำลังกายภายนอกอาคารของโครงการ ทั้งสวนออกกำลังกาย และสนามเด็กเล่น โดยมี loop ของ Jogging track ขนาดใหญ่ เป็นตัวเชื่อมต่อกิจกรรมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ในบรรยากาศธรรมชาติของทุ่งดอกไม้และพื้นที่ชุ่มน้ำ สวนออกกำลังกายและสนามเด็กเล่นถูกออกแบบให้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อสร้างให้เกิด social hub ที่กระตุ้นให้คนทุกวัยได้ออกมาใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างสนุกสนาน ผ่านอุปกรณ์เครื่องเล่นที่สร้างเสริมศักยภาพของร่างกายครบทุกด้าน เพื่อให้มีสุขภาพใจและสุขภาพกายที่แข็งแรง

อีกหนึ่ง Facility ที่เป็นจุดเด่นของโครงการคือสวนบำบัดเพื่อการรักษา หรือTherapeutic Garden ซึ่งเชื่อมต่อกับบริเวณหน้าอาคาร Aged are และ Clubhouse เพื่อรองรับการใช้งานเป็นพิเศษของผู้สูงอายุ, ผู้ที่ต้องการทำกายภาพบำบัด และบุคคลทั่วไปที่อยากจะพักผ่อน ด้วยบรรยากาศธรรมชาติที่ผ่อนคลายของสวน โดยใช้แนวคิดหลักคือการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้งห้าส่วน คือ การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น และการสัมผัส เพื่อสร้างเสริมการมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี สวนแห่งนี้ประกอบไปด้วยพื้นที่ส่วนแรกคือลานกลุ่มของชุดโต๊ะและเก้าอี้ เพื่อเป็นพื้นที่พบปะพูดคุยใต้ร่มไม้ใหญ่ พื้นที่สนามหญ้าริมลำธารน้ำตก ที่สามารถประกอบกิจกรรมการออกกำลังกายได้หลากหลาย ทางเดินหินนวดเท้าถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่มาใช้ได้พบประสบการณ์การเดินในรูปแบบใหม่ ผ่านทางเดินหินหลากหลายประเภทที่มีความขรุขระ เพื่อกระตุ้นให้เกิดสัมผัสที่แตกต่างกัน และส่วนสุดท้ายคือทางเดินสำหรับการทำกายภาพบำบัด โดยออกแบบพื้นที่ทางเดิน 3 ประเภทคือ ทางเดินพื้นเรียบ ทางเดินลาด และทางเดินชั้นบันได เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องการทำกายภาพบำบัดให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยออกแบบให้มีระยะที่เหมาะสมที่ผู้ป่วยและผู้ช่วยสามารถเดินไปด้วยกันได้ พร้อมราวจับตลอดทางเดิน เพื่อป้องกันการสะดุด ลื่นล้มระหว่างทาง แนวคิดของพืชพรรณในบริเวณนี้เน้นการเลือกใช้พรรณไม้ที่มีกลิ่นหอม ไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม และใบไม้ที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เพื่อให้สวนแห่งนี้เป็นสวนที่ตอบสนองต่อการพัฒนาประสาทสัมผัสของผู้ที่เข้ามาใช้ได้อย่างแท้จริง

Clubhouse คือศูนย์รวม Facility ที่ครบครันที่สุดในโครงการ สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเป็นส่วนที่มีพื้นที่ภูมิสถาปัตยกรรมที่เปิดโล่งและมีมุมมองสวยงาม จึงมีแนวคิดในการออกแบบให้เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนต้นกำเนิดน้ำของลำธารในโครงการ สอดคล้องกับแนวคิดหลักในการสร้างบรรยากาศของป่า และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บริเวณข้างเคียงมีพื้นที่ระเบียงไม้ขนาดใหญ่ สำหรับพูดคุยและรับประทานอาหาร เพื่อรองรับการใช้งานภายนอก จุดเด่นอย่างหนึ่งของ Clubhouse คือ สระว่ายน้ำบนชั้นสองที่ทำการออกแบบสำหรับคนทุกวัย มี Facility ที่ครบครันทั้งสระว่ายน้ำมาตรฐานความยาว 25 เมตร, สระว่ายน้ำเด็ก, Social pool, Jacuzzi และ Pool bar ที่เอื้อให้เกิดกิจกรรมและตอบสนองการใช้งานและ Lifestyle ของคนทุกวัยได้เป็นอย่างดี

ใช้หลัก Universal Design ด้วยการใช้ทางลาดสำหรับบริเวณที่มีการเปลี่ยนระดับ แทนการใช้บันไดในงาน landscape ทั้งหมด กำหนดให้ทางเดินในสวนมีราวจับตลอดทางเดินอย่างน้อย 1 ด้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุสามารถจับได้ตลอดทาง การเลือกใช้วัสดุที่มีผิวสัมผัสขรุขระ เพื่อป้องกันการลื่น ออกแบบระบบแสงสว่าง ไฟส่องตามทางเดิน และพื้นที่ใช้งาน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานตอนกลางคืน 
     ตามทางเดินในสวนมีที่นั่ง ทุกๆ ระยะ 30-50 เมตร เพื่ออำนวยความสะดวก และเป็นจุดนั่งพักริมลำธาร ใต้ร่มเงาไม้ โดยที่นั่งไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกวัย มีทั้งที่นั่งแบบใกล้ชิดกัน นั่งเป็นกลุ่ม หรือนั่งเป็นครอบครัว

ระบบสัญจรภายในโครงการ นอกจากพาหนะส่วนบุคคลแล้ว กำหนดให้มีรถกอล์ฟ (buggy) รับ-ส่งโดยรอบโครงการ เช่น จากส่วนอาคารพักอาศัยไปยังคลับเฮาส์ด้านหน้าโครงการ ซึ่งในกรณีฉุกเฉินสามารถให้รถกอล์ฟเข้าถึงพื้นที่บริเวณสวนได้ เพื่อรับผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาลได้ทันท่วงที อีกทั้งกำหนดให้มีทางจักรยานรอบโครงการ เพื่อการออกกำลังและการสัญจรภายในโครงการ

ระบบการจัดการน้ำภายในโครงการ ลำธารไหลผ่านตลอดพื้นที่โครงการ อีกทั้งยังมีทะเลสาบเพื่อกักเก็บน้ำและเป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยออกมามีปฏิสัมพันธ์

แนวความคิดในการออกแบบพืชพรรณ การสร้างระบบนิเวศของป่า โดยชนิดต้นไม้ที่เลือกใช้จะมีความสูงหลายระดับและรูปทรงที่แตกต่างกัน ปลูกรวมกันแบบคละชนิด ไม่เป็นแถวหรือเป็นแนวเพื่อให้เกิดป่าที่ใกล้เคียงกับธรรรมชาติ เน้นการสร้างความร่มรื่นให้กับพื้นที่ใช้งานในส่วนต่างๆ และเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น โดยมีสวนส่วนที่เน้นด้านประสาทสัมผัส (Sensory Garden) ซึ่งจะเลือกใช้สีสันของพรรณไม้แต่ละชนิดที่ช่วยในการมองเห็นและจดจำ การเลือกใช้ไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม ไม้กินได้ หรือสมุนไพรต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดกิจกรรมระหว่างผู้อยู่อาศัย เช่น การทำสวน การปลูกผักและไม้ดอก การดูแลต้นไม้ รวมถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านกายภาพ ด้านสังคมและปฏิสัมพันธ์ รวมถึงด้านจิตใจของผู้อยู่อาศัย