บริษัท พีแลนด์สเคป จำกัด

หมู่บ้านพิงพัก

Institution: Excellent Award

“This is a simple architectural design. The concept of plant materials selection is clear and colorful. It is also suitable with the environment. The water element creates an encouraging atmosphere. It is an influence for implementing the next phase”

(2019 Awards Jury)

Project Name : Pink Park Village

Location : Minburi, Thailand

Area : 194,000 sqm.

 

Project Summary

Landscape Architecture is the creation of life – life that continues to grow decades after drawings have been completed--to be enjoyed by generations to come. Pink Park Village is the first hospice and convalescence facility in Thailand for underprivileged breast cancer patients. An initiative by the ‘Queen Sirikit Centre for Breast Cancer Foundation’ (QSCBC), Pink Park Village is proof of the value that landscape architects can bring to vulnerable members of society. 

The original vision of the Pink Park Village was born from a request by Her Majesty Queen Sirikit to create ‘a sanctuary for all women in need’. In 2007 Associate Professor Doctor Kris Chatamra founded the ‘Queen Sirikit Centre for Breast Cancer Foundation’ (QSCBC). Pink Park Village – officially launched in 2014 - is one of many initiatives by the foundation focusing on the improvement of breast cancer diagnosis, treatment, and awareness for all women regardless of their income. The Pink Park Village is the first of its kind in Thailand as a not-for-profit holistic care centre serving underprivileged women.  It is hoped that it will be the first of many and will inspire initiatives of a similar benefit to the public.  

As landscape architects, we thought of our role on this project as not only an honour but also recognition of the importance of landscapes as the original ‘natural therapy’ with the ability to provide multi-sensorial comfort to people. The nature of this project is inherently ‘built’ to provide necessary shelter and utility to the important function that it serves to society. The landscape though occupies an equally important role as the ‘silent function’ to the site: the landscaped gardens cover more than 50% of the site and the future northern organic farm and orchard will increase this amount again once the second stage is complete. 

As the landscape architects it has been encouraging to witness the overwhelming amount of support shown by all those involved in the project and in the public to create an environment of dignity and philanthropy from private individuals who donated trees through the project website to contractors who provided equipment and materials for free or at cost. Pink Park Village is truly an example of the spirit of community and collaboration. 

 

ชื่อโครงการ : หมู่บ้านพิงพัก
สถานที่ตั้ง : มีนบุรี กรุงเทพฯ ประเทศไทย
บริษัท / ผู้ออกแบบ : บริษัท พีแลนด์สเคป จำกัด
หัวหน้าโครงการ : วรรณพร พรประภา
ภูมิสถาปนิกโครงการ : หทัย รจนาศรีไพโรจน์
ผู้ว่าจ้าง/เจ้าของโครงการ : มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ / รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ
ผู้รับเหมางานภูมิทัศน์ : บริษัท ไนน์ทีนธ แลนด์สเคป จำกัด
ลิขสิทธิ์ภาพ/ช่างภาพ : บริษัท พีแลนด์สเคป จำกัด

Architect Firm : I’ll Design Studio Co.,Ltd.
Project Management : SANSIRI PUBLIC COMPANY LIMITED
Civil & Structure Engineer : Umbau Co.,Ltd.
Mechanical & Electrical Engineer : A&E Developer Co.,Ltd.
Quantity Surveyor : STS Engineering Consultant Co.,Ltd.
Builder : Naraconsult & Design Co.,Ltd.

ลักษณะโครงการ : อาคารพักอาศัยสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย

แนวคิดหลักโครงการ

หมู่บ้านพิงพัก มีจุดเริ่มต้นมาจากพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินินาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานแก่ รศ.นพ.กฤษณ์ จาฏามระ ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานมูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ ในปี พ.ศ.2550 ว่า “ฉันอยากให้ศูนย์ฯนี้ เป็นที่พึ่งของผู้หญิง” จากนั้นหมู่บ้านพิงพักซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการของมูลนิธิ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในปีพ.ศ.2557 เพื่อเป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นผู้ป่วยยากไร้ ด้อยโอกาส ขาดแคลนทุนทรัพย์ ไม่มีครอบครัวหรือญาติพี่น้องคอยดูแล และมีเป้าหมายให้เป็นโครงการต้นแบบ เป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้งโครงการอื่นๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป

รายละเอียดโครงการ

โครงการ : บ้านพิงพัก

พื้นที่โครงการ : 194,000 ตารางเมตร

Completed : 2561 (เฟส1)

โครงการ บ้านพิงพัก สถานที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยด้อยโอกาส ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการคัดเลือกโดยไม่ว่าจะมาจากที่ใดในประเทศ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีในระหว่างรับการรักษา จนกระทั่งจากไป ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี และการดูแลที่อบอุ่นเหมือนการดูแลญาติมิตร โดยมีห้องพักทั้งสิ้น 28 ห้อง อาคารต้อนรับ อาคารวิจัย อาคารกิจกกรรมเพื่อการเรียนรู้ และหอพักเจ้าหน้าที่

หมู่บ้านแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการได้รับบริจาคที่ดินโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ป่วยผู้รอดชีวิตท่านหนึ่งซึ่งเคยผ่านการรักษาโดยศาสตราจารย์ รศ. นายแพทย์ กฤษณ์ จาฎามระ ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานมูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ จากจุดเริ่มต้นนี้ ทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้น นอกจากนี้ทางมูลนิธิยังได้รับการสนับสนุน วัสดุก่อสร้างอาคาร อุปกรณ์การแพทย์ รวมไปถึงวัสดุพืชพันธุ์ด้วยเช่นกัน ผ่านการรณรงค์โครงการในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เงินบริจาค งานวิ่งการกุศล และการจัดคอนเสิร์ตการกุศล เป็นต้น 

สภาพพื้นที่โครงการและพื้นที่โดยรอบ มีลักษณะเป็นพื้นที่การเกษตร ราบลุ่มต่ำ และมีปัญหาน้ำท่วมขังบ่อย ทางทีมผู้ออกแบบได้ตระหนักถึงปัญหานี้ตั้งแต่แรกเริ่ม และเลือกใช้ระบบคูคลองและคันกันน้ำ (‘Ditch and Dyke’) โดยรอบโครงการสำหรับการป้องกันน้ำท่วม และเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ โดยนำดินที่ได้จากการขุดบ่อสำหรับกักเก็บน้ำอยู่ในพื้นที่โครงการมาใช้ มีการปรับระดับอาคารที่สำคัญให้สูงขึ้นกว่าบริเวณโดยรอบ ได้แก่ Care Centre ศูนย์เครื่องมือแพทย์ และส่วนบ้านพักผู้ป่วย หากกรณีมีปริมาณฝนตกในพื้นที่มาก พื้นที่ open space ส่วนกลางก็จะเป็นพื้นที่ปล่อยให้น้ำท่วมขังได้ ก่อนจะระบายออกนอกพื้นที่ 

ปัจจุบัน เฟสแรกของโครงการประกอบไปด้วย บ้านผู้ป่วยระยะพักฟื้นและผู้ป่วยระยะสุดท้าย , อาคารดูแลผู้ป่วยระหว่างวันหรือ ‘Day Care Centre’, อาคารสำหรับทำกิจกรรม และอาคารศูนย์การเรียนรู้และอบรม ส่วนพื้นที่อื่นๆเช่น สวนผักออร์แกนิคฟาร์ม ศูนย์การวิจัยโรงมะเร็ง และอาคารศาสนารอบบ่อน้ำ จะมีการก่อสร้างขึ้นในเฟสสองหรือในอนาคตต่อไป ในส่วนของบ้านพักผู้ป่วย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ อาคารผู้ป่วยระยะพักฟื้น และ ส่วนบ้านพักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยในแต่ละห้องพัก ผู้ป่วยจะสามารถมองเห็นสวนส่วนตัวจากบริเวณระเบียงห้องพัก และสวนใหญ่ส่วนรวมด้านนอก  

โครงการ บ้านพิงพัก ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบ ตามหลักการหมู่บ้านท้องถิ่นในไทย ในแง่ของการอยู่ร่วมกัน การช่วยเหลือกัน และการร่วมมือกันของคนในชุมชน การวางโปรแกรมและการวางผังของหมู่บ้านพิงพัก เน้นการรวมกลุ่มของส่วนบริการหลักใกล้กันในแบบของหมู่บ้านไทย เพื่อความสะดวกในการเชื่อมถึงกัน รวมถึงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ส่วนที่เหลือ อีกกว่า50% ของพื้นที่โครงการถูกออกแบบภูมิทัศน์เปิดโล่ง ดูแลรักษาง่าย เขียวร่มรื่น การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของบ้านพิงพัก มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและอิทธิพลของงานภูมิสถาปัตยกรรมที่มีต่อผู้อยู่อาศัย หมู่บ้านนี้จึงเปรียบเสมือน ‘การบำบัดด้วยธรรมชาติดั้งเดิม’ และสามารถให้ความสะดวกสบายแก่ผู้อยู่อาศัยที่สัมผัสได้ ทั้งทางกาย ใจ และจิตวิญญาณ 

การเลือกใช้พืชพรรณ เน้นการใช้พืชพรรณที่โตเร็วให้ความร่มรื่น รวมถึงการปลูกไม้ดอกที่สลับกันออกดอกหมุนเวียนตลอดทั้งปี เพื่อสุนทรียภาพของผู้อยู่อาศัย และแฝงแนวคิดในเชิงปรัชญาเพื่อจุดประกายให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขอยู่กับปัจจุบันในทุกขณะ และมองเห็นความงาม โดยยอมรับในความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ มีการเลือกใช้ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ในส่วนพื้นที่แกนกลางตั้งแต่ถนนทางเข้าโครงการ มาถึงส่วนลานสนามหญ้าตรงกลาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเติบโต เปลี่ยนแปลง และความไม่จีรังของธรรมชาติและชีวิต 

การออกแบบโดยสร้างความรู้สึก การได้รับเกียรติ การได้รับความสงบและความสบาย และสุดท้าย ได้เรียนรู้และยอมรับความไม่จีรังของชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลัก โครงการนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นเล็กๆ เราหวังว่าหมู่บ้านพิงพัก จะเป็นโครงการต้นแบบในแง่ของการที่ภูมิสถาปัตยกรรมได้เข้ามามีบทบาทไม่ใช่แค่ในด้านในการรักษาผู้ป่วยอย่างครบวงจร แต่ยังสามารถรักษาสภาพจิตใจและจิตวิญญาณของผู้ป่วยได้อีกด้วย โครงการต้นแบบนี้จะเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและเผยแพร่อีกในหลากหลายประเทศทั่วโลก