บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด

โครงการปรับปรุงเรือนจำเก่าสกลนคร

Landscape Conservation: Honor Award

“There are plenty of valuable and diverse landscape architecture essences which added the cultural dimension to the project. The vernacular architecture is well preserved as well as the old prison identity. The urban green space was added and connected the fragmented green area with the visual axis.”

2019 AWARDS JURY

Project Summary:

Sai Sawang road in Sakon Nakhon city is a road that leads to the existing cultural learning area of the city, for example, Nong Han Museum, Phu Phan Museum, Science Museum, and Commempration Park which are important learning centers of the city but still are not well utilized as learning or tourism centers. Besides, more than 120-year-old Sakon Nakhon’s old correctional institution which located in the same area is as big as 21 Rai (33,600 SQM) and consists of 2 teak wood prison buildings in unique architectural style, has been abandoned in the city center. Leaving it unattended may lead to many other problems such as visual pollution, deteriorating area, insecurity issue. All can cause negative effects to the surrounding both in community level and overall picture of the city.

Therefore, the objective of the space design for utilizing the area of Sakon Nakhon’s old correctional institution is to build up the opportunity to improve the quality of life and economy of the city from existing values and form the creative space that benefits the community and its visitors.

Design Approach

“Integral All Around Learning Space; Sport, History, Nature, Career training, Tradition, and Culture”

1.Reconnecting the opposite areas together: As the project area is divided into 2 sides by Sai Sawang Road, the deign must make users perceive both areas as one project.

2.Sense of arrival: Since the shape of the project area is rather narrow with only 114 meters in width, the design must attract users and convey sense of arrival to them by using the botanical design to switch the atmosphere and forming the area of large grove as project name signage.

3.Destination place: of community and tourists by itself and the connection between Wat Phra That Choeng Chum, Old City, City Gate, School, Community, Phu Phan Museum, and Nong Han, and widening the significance of the area

4.Opening every possible access that goes along with the community way of life. So, the design and development of the area includes more accesses.

5.Distinct separation of the functional area, and design the area regarding the potential of the former area,

6.Creating of self-sustainable ecology making the water treatment area using natural plants which represents the distinguished identity of the area as Wetland i.e., Nong Han. Besides, the design of the project also concerns about keeping all existing trees in the area.

ชื่อโครงการ : โครงการปรับปรุงเรือนจำเก่าสกลนคร
สถานที่ตั้ง : ถนน ใสสว่าง อำเภอเมือง อำเภอเมืองสกลนคร     
LANDSCAPE ARCHITECT : บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด
หัวหน้าโครงการ : Landscape Studio by ARSOMSILP
เจ้าของโครงการ : สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดสกลนคร           

หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน : ชมรมส่งเสริมคนเมืองสกล

ลักษณะโครงการ:

สวนชุมชน Landscape conservation

แนวคิดหลักของโครงการ :

“พื้นที่แห่งการเรียนรู้และฝึกฝนรอบด้านอย่างบูรณาการ สร้างคนให้เต็มคน :

เรียนรู้ คุณธรรม จริยธรรม ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การฝึกอาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม สุขภาพ”

ปรับเปลี่ยนพื้นที่คุก ซึ่งเดิมคือพื้นที่กักขัง จองจำ พื้นที่ลงโทษคนที่กระทำความผิด ให้เป็นพื้นที่แห่งโอกาส สอนคนให้เต็มคนอย่างสมบูรณ์ กลายเป็นพื้นที่ให้ความรู้ด้านอาชีพ พื้นที่ออกกำลังกาย ให้สุขภาพ พื้นที่ค้าขายให้เศรษฐกิจ พื้นที่แสดงศิลปวัฒนธรรมของเมืองสกลนคร พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ความรู้ เก็บรวบรวมพืชพรรณท้องถิ่น ห้องเรียนธรรมชาติ ให้ความรู้ระบบนิเวศน์ริมน้ำ พื้นที่แห่งการบอกเล่าอดีตของคนคุกผ่าน interactive museum ที่เป็นพื้นที่ข้อคิด และเตือนสติ สุดท้ายเป็นพื้นที่ที่ทำให้คนตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม ทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ต้องห้าม กลายเป็นพื้นที่ในใจ ในชีวิตประจำวัน ของทุกคน

รายละเอียดโครงการ :

“สกลนคร”หรือที่ในอดีตเรียกว่า“เมืองหนองหารหลวง”เป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มากว่าสามพันปี มีรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและมรดกทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะพิเศษ ที่เกิดจากการเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีหลากหลายวัฒนธรรม จากการได้รับอิทธิพลทางการเมืองการปกครองตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ล้านช้าง และรัตนโกสินทร์ ทำให้เมืองสกลนครมีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่งสืบต่อมาที่บ่งบอกถึงการเคยเป็นตัวเมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่ง ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของภูพานและหนองหาร นอกจากมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าดังกล่าว ความศรัทธาและวิถีชีวิตทางพระพุทธศาสนา ที่ต่อเนื่องยาวนาน ทำให้สกลนครมีชื่อเสียงเป็น เมือง 3 ธรรม คือ เมืองแห่งธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม ทำให้สกลนครได้รับการประกาศเป็นเขตพื้นที่เมืองเก่าสกลนคร ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546

ถนนใสสว่าง ในเขตอำเภอเมืองเป็นถนนสายหนึ่งที่นำเข้าสู่พื้นที่เรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ ของเมือง เช่นหนองหาร พิพิธภัณฑ์ภูพานพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และสวนเฉลิมพระเกียรติ เป็นศูนย์เรียนรู้ ที่สำคัญของเมืองแต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการใช้งานอย่างสมประโยชน์ทั้งในด้านการเป็นแหล่งเรียนรู้และ การท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันทัณฑสถานเก่าสกลนคร ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันนี้ มีพื้นที่ถึง 21 ไร่ ทัณฑสถานแห่งนี้มีอายุกว่า 120 ปี มีอาคารเรือนจำไม้สัก 2 ชั้น ที่มีรูปแบบเฉพาะทางสถาปัตยกรรม ซึ่งปัจจุบัน เป็นพื้นที่ถูกทิ้งร้างกลางเมืองสกลนคร ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะนำมาซึ่งปัญหา เช่น ปัญหามลทัศน์และ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ความไม่ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมทั้งในระดับชุมชนและเมืองในภาพรวม

จากความสำคัญดังกล่าวจึงได้มีการออกแบบพื้นที่เพื่อใช้ศักยภาพของพื้นที่ทัณฑสถานเก่าสกลนคร สร้างโอกาส ต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของเมือง จากคุณค่าที่มีอยู่ให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อคนทั่วไปและผู้มาเยือน

Design Approach

1.เชื่อมพื้นที่ทั้ง 2ฝั่งเข้าหากัน : เนื่องจากพื้นที่โครงการถูกแบ่งเป็นสองด้านด้วยถนนใสสว่าง การออกแบบจึงต้องทำให้การรับรู้ของผู้คนรู้สึกว่าพื้นที่เป็นผืนเดียวกัน

2.Sense of arrival: เนื่องจากพื้นที่โครงการมีความกว้างค่อนข้างจำกัด 114 เมตร การออกแบบจึงต้องทำให้คนสนใจ และรับรู้ถึงการเข้าถึงโครงการ โดยการออกแบบด้วยการใช้กลุ่มพืชพรรณไม้เป็นตัวเปลี่ยนบรรยากาศ สร้างพื้นที่ของกลุ่มต้นไม้ขนาดใหญ่ เพื่อให้กลุ่มต้นไม้เป็นป้ายบอกชื่อของโครงการ

3.Destination place: สร้างพื้นที่ให้เป็นจุดหมายปลายทางของชาวเมืองและนักท่องเที่ยว

4.เปิดทางออกรอบด้าน สอดคล้องกับวิถีชุมชน ด้วยบทบาทหน้าที่เดิมของพื้นที่โครงการ คือ ทัณฑสถาน การเข้าถึง จึงมีข้อจำกัดการเข้าและออก การออกแบบปรับปรุงพื้นที่จึงมีการเพิ่มเติมการเข้าถึง มีการเจาะประตูเพิ่มเติมเพื่อรองรับและให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ที่จะเกิดขึ้น

5.แบ่งพื้นที่การใช้งานให้ชัดเจน เช่น แบ่งโซน active และ passive รวมทั้งยังออกแบบพื้นที่ให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่เดิม เช่น การเก็บรักาอาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น อาคารเรือนนอนหลังแรก เปลี่ยนบทบาทหน้าที่เป็น พิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคุก โดยการเก็บรักษาอาคารเก่าภายนอกและภายในบอกเล่าเรื่องราวของคุก เป็น interactive exhibition สมัยใหม่ แม้กระทั่งการออกแบบ pattern ทางงาน landscape design ที่สอดคล้องกับการ renovate บางอาคาร เพื่อใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ

6.สร้างระบบนิเวศน์ที่พึ่งพาตนเอง เช่น การเชื่อมบ่อน้ำรวมทั้งใช้พื้นที่บ่อน้ำเป็นพื้นที่บำบัดน้ำโดยพืชธรรมชาติ ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่ที่มีความโดดเด่นทางด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น หนองหาร เป็นต้น นอกจากนี้การออกแบบพื้นที่ทั้งโครงการยังได้คำนึงถึงการการเก็บรักษาต้นไม้เดิมภายในพื้นที่โครงการไว้ทั้งหมด

7.เป็นพื้นที่ที่ทำหน้าที่ถักทอ เป็นตัวเชื่อม ระหว่าง วัด(พระธาตุเชิงชุม) เมืองเก่า ประตูเมือง โรงเรียน ชุมชน พิพิธภัณฑ์พูพาน และหนองหาร เข้าด้วยกัน เกิดการขยายเขตพื้นที่ท่องเที่ยวและพื้นที่ที่สำคัญเป็นวงกว้าง สร้างผลกระทบที่ชัดเจนในระดับเมือง

8.เป็นพื้นที่ฝึกอาชีพของชาวชุมชนและเยาวชนของชาติ เป็นพื้นที่สำคัญที่เชื่อมต่อกับโรงเรียน ถือได้ว่าเป็นพื้นที่แห่งโอกาส

9.เป็นการออกแบบกิจกรรม ที่ซ้อนทับกันอย่างบูรณาการ คือ เส้นทางเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ , เส้นทางศูนย์ ฝึกอาชีพ creativities training zone , พื้นที่ออกกำลังกาย , พื้นที่ทางเศรษฐกิจ ร้านค้า, พื้นที่พักผ่อน